ปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain)

The Commons Clinic สรุปให้!

  • อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนที่มีอาการปวด ได้แก่ ปวดหลังส่วนบน ปวดหลังส่วนกลาง และปวดหลังส่วนล่าง
  • เมื่อเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างในเบื้องต้น ควรไปทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ
  • เช็กสุขภาพร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด พร้อมวางแผนฟื้นฟูอาการเจ็บปวดเฉพาะคุณได้แล้ววันนี้ ที่ไลน์ @thecommonsclinic หรือโทร 094-694-9563

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) หมายถึง อาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ในตําแหน่งตั้งแต่หลังชายโครงไปถึงส่วนล่างของแก้มก้น โดยบางกรณีจะมีอาการร่วมกับอาการปวดร้าวลงไปที่ขา ซึ่งปัญหาสําคัญของอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ อาการปวดและการไม่สามารถดําเนินชีวิตได้เหมือนปกติ

สำหรับท่านใดที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี?  thecommonsclinic.com จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!

อาการปวดหลังส่วนล่าง คืออะไร?

อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง หรือมีอาการหลังแข็งในตำแหน่งชายโครงไปจนถึงบริเวณสะโพก หรือส่วนล่างของแก้มก้น และในบางรายที่อาการหนัก อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย

อาการปวดหลัง สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการปวดหลังส่วนล่างส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคของหลังซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

ปวดหลังส่วนล่างเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อหลังบาดเจ็บ ซึ่งมักจะพบในกลุ่มที่มีการใช้งานในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย หรือลุกไปไหน ซึ่งทำให้ชปวดหลังส่วนล่างได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย ดังนี้

    • การยกของหนัก สำหรับกลุ่มคนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง อันเนื่องมาจากน้ำหนักของที่ยกอาจจะมากเกินไป หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด ดังนั้น ควรจะต้องยกของให้ถูกท่า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการใช้งาน
    • กระดูกสันหลังเสื่อม พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อจะมีการเสื่อมสภาพลงตามอายุ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ แต่ถ้ามีการกดเบียดทับเส้นประสาทในช่องโพรงกระดูกสันหลังร่วมด้วย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “กระดูกทับเส้น” ก็จะมีอาการปวดหลังล่างร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขา ชาหรืออ่อนแรงได้
    • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มักพบในช่วงวัยทำงาน จะมีอาการปวดหลังล่างร่วมกับปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วยได้ 
    • อุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง อุบัติเหตุจราจร รวมถึง กลุ่มที่เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อาจทำให้เกิดปัญหากระดูกหัก หรือมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้
    • เนื้องอก สำหรับอาการปวดหลังล่างที่เกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็งลามไปที่หลัง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลังที่ผิดปกติ โดยที่จะมีอาการปวดค่อนข้างมาก กินยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน
    • ติดเชื้อ เมื่อกระดูกหรือข้อต่อเกิดการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดและมีไข้ แต่สาเหตุนี้พบได้น้อยมากๆ 

โรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง

  1. โรคเอ็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน (Acute back strain) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งมักจะหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้มาพบแพทย์ อาการที่พบจะปวดหลังแต่ไม่ร้าวไปที่ขา สาเหตุเพราะกล้ามเนื้อหลังแข็งและเกร็งทำให้แนวแอ่นตัวของหลังหายไป เมื่อกดกล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกสันหลังจะรู้สึกเจ็บ ลักษณะอาการดังกล่าวอาจเกิดร่วมกับอาการของโรคอื่น ๆ ที่มีลักษณะการเกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุ
  2. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation) พบในผู้ป่วยอายุน้อยไม่เกิน 50 ปี มักเป็นแบบเฉียบพลัน ภายหลังการยกของหนักหรือหมุนตัวผิด ทำให้มีหมอนรองกระดูกแตกออกไปทับเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขา อาจตรวจพบอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาท L4, L5, S1 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบบ่อย
  3. โรคช่องบรรจุไขสันหลังตีบ (Spinal stenosis) อาการปวดหลังและขาในผู้ป่วย จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งใช้เวลาเป็นปี อาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและมีการร้าวไปที่ก้น ต้นขาและน่อง มีลักษณะเฉพาะคือ มีอาการปวดหลังร้าวลงขาและมีอาการน่องชาหรือไม่มีแรงเมื่อมีการเดินไกล แต่เมื่อนั่งพักเพียงไม่กี่นาทีอาการก็จะดีขึ้นและสามารถเดินต่อไปได้อีก

อาการที่อาจพบได้เมื่อปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังล่าง ถ้าสาเหตุเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหรือข้อต่อกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง และในบางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกร่วมด้วยได้  แต่ถ้าตัวโรคที่เป็นมีการไปกดเบียดทับเส้นประสาทในโพรงกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท นอกจากจะมีอาการปวดหลังล่างแล้ว ก็จะมีอาการปวดร้าวลงขา ชาหรืออ่อนแรงเวลายืนเดินได้ ตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของโรค

ควรพบแพทย์เมื่อไร

ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังส่วนล่างมักหายได้เอง ไม่จําเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดนานไม่หายไปภายใน 1 เดือน ปวดเมื่อนอนราบหรือนอนหลับ
  • ขาอ่อนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบลําไส้ ระบบกระเพาะปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของกลุ่มอาการรากประสาทเอวและกระเบนเหน็บหรือกลุ่มอาการรากประสาทหางม้า (cauda equina syndrome) อาการปวดร้าวลงไปที่ขาส่วนล่าง พร้อมกับอาการขาอ่อนแรง
  • อาการปวดหลังพร้อมน้ำหนักลดแบบหาสาเหตุไม่ได้หรือมีไข้
  • อาการปวดหลังในรายที่มีประวัติภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง การใช้สารเสตียรอยด์มากเกินไป
  • อาการปวดหลังจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • เพิ่งมีอาการปวดหลังในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี

การป้องกัน

  • การออกกําลังกายเป็นประจําหรือขยับร่างกายเป็นวิธีป้องกันการกลับมาปวดหลัง ควรออกกำลังกายและเสริมสร้างความแข็งแรงของช่วงลําตัวและสะโพก กล้ามเนื้อหน้าท้องที่แข็งแรงสามารถช่วยพยุงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
  • เรียนรู้ท่าก้มตัวและยกของหนักที่ถูกต้องเหมาะสม เกร็งหน้าท้องและงอเข่าเมื่อต้องยกของหนักเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหลังยึดตึง
  • หากต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เมื่อทำได้ เดินหรือขยับร่างกายไปมา

ปวดหลังส่วนล่าง รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

เมื่อปวดหลังส่วนล่าง ถ้าอาการนั้นรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค และทำการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจะขึ้นอยู่กับตัวโรคที่เป็น โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู 

การรักษาด้วยยา

การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาท จะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรค และข้อควรระวังในการใช้ยา แต่หากรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการปวดหลังส่วนล่างยังไม่ดีขึ้น ก็จะต้องเพิ่มการรักษาโดยการกายภาพบำบัด หรือทำการรักษาควบคู่กันไป 

การทำกายภาพบำบัด

เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นสาขาทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวด ฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง แพทย์อาจเพิ่มการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟิ้นฟูแบบต่างๆ ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้

  • การประคบแผ่นร้อน
  • การใช้อัลตราซาวนด์ลดปวด 
  • การใช้เลเซอร์ 
  • การช็อกเวฟ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด
  • การใช้เครื่องเรดคอร์ด (Red Cod) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง ช่วยในการยืดเหยียด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
  • การใช้เครื่อง Huber 360 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถออกแบบให้เหมาะกับกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาได้ เช่น เพิ่มความแข็งแรงเฉพาะส่วนหลังล่าง หรือจะเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทกีฬาได้
  • การใช้ธาราบำบัด เป็นการออกกำลังกาย และฟื้นฟูร่างกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่หลังมากเกินไป โดยจะมีโปรแกรมให้คนไข้ออกกำลังกายในน้ำ พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล และเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น เช่น  โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นต้น 

บอกลาอาการปวดหลังส่วนล่าง ด้วยการทำกายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญที่ The Commons Clinic ดีอย่างไร?

หากทำท่าบริหาร หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วอาการไม่ดีขึ้น อย่าปล่อยไว้จนอาการหนัก และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการรุนแรงจนกลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม หรือร้ายแรงถึงขั้นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แนะนำให้ไปหานักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาที่สาเหตุตั้งแต่เนิ่น ๆ

นักกายภาพบำบัดนั้น จะมีเครื่องมือกายภาพบำบัดมากมายที่ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้อาการปวดหลังส่วนล่างดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ เช่น เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS หรือเครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave เป็นต้น

ถ้าหากคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดหลังช่วงเอว แล้วต้องรักษาให้หายขาดล่ะก็ สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ The Commons Clinic ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาพร้อมให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เครื่องมือกายภาพบำบัดทันสมัยครบครัน มั่นใจได้เลยว่าอาการปวดเรื้อรังของคุณจะต้องหายดีอย่างแน่นอน!

คำถามที่พบบ่อย

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ The Commons Clinic เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

The Commons Clinic เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

The Commons Clinic มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย

รีวิวจากลูกค้าจริง

Excellent
Based on 30 reviews
Attapol Tumhonyam
Attapol Tumhonyam
8 January 2024
คลินิคดูแลดีมากเลย อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาปวดตัวจากการทำงานมาปรึกษาที่คลินิคนี้ได้คับ
PEAR ANANTA
PEAR ANANTA
29 December 2023
แนะนำเลยใครสายรักสุขภาพที่กำลังหาคลีนิคกายภาพดีๆ เราได้มีโอกาสมาที่คลีนิค The Commons Clinic ตกแต่งคลีนิคสไตล์มินิมอลสบายตา สะอาด รู้สึกผ่อนคลายสุดๆ พี่นักกายภาพแนะนำดี ที่สำคัญคุณหมอตรวจละเอียดมากๆและใส่ใจสุดๆ เราเพิ่งเคยทำครั้งแรกตอนแรกกลัวเจ็บ แต่พอลองทำจริงไม่เจ็บเลยชิลมาก ฟินสุดๆ ครั้งหน้ามาซ้ำอีกแน่นอน 👍🏻
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
28 December 2023
คุณหมอและนักกายภาพที่นี่ ดูแลดีที่สุดเท่าที่เคยทำกายภาพมาเลยค่ะ ให้คำอธิบายอย่างละเอียด ทั้งสาเหตุการปวด กลไกการปวด และอธิบายการรักษาที่ให้ชัดเจน หลังการรักษาก็มีการติดตามผลต่อเนื่อง จัดให้เป็นที่ซ่อมร่างชั้นดี สำหรับสาย Adventure ที่บาดเจ็บบ่อยๆแบบเราเลยค่ะ
Puilizy Namthip
Puilizy Namthip
14 December 2023
คุณหมอให้คำปรึกษาและแนะนำดีมากๆค่ะ เครื่องมือและอุปกรณ์ก็ทันสมัย ไปใช้บริการอีกแน่นอนค่ะ
Supawit Popromsri
Supawit Popromsri
13 December 2023
เพิ่งไปมาครั้งแรก ชอบเลย บรรยากาศดีมากกก คุณหมอน่ารัก ปรึกษาดี เบิกประกันฉลุย รักษา office syndrome ได้อย่างตรงจุด
Pong Pong
Pong Pong
10 December 2023
คุณหมอใส่ใจการรักษา อธิบายเข้าใจง่าย ร้านสะอาด และเครื่องมือทันสมัยดีมากครับ👍
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
6 December 2023
มีอาการปวดหลังล่างเนื่องมาจากนั่งนาน ได้มารักษาที่นี่แล้วดีขึ้น ไม่รู้สึกทรมานอีกต่อไป พนักงานมีความใส่ใจพอหลังจากรักษาเสร็จกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นจะมีพนักงานโทรมาสอบถามอาการตลอดเวลา ว่ายังเจ็บตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลไม่ให้เป็นซ้ำอีก แนะนำครับ
ปิยนาถ งามเจริญ
ปิยนาถ งามเจริญ
5 December 2023
ไปมาหลายที่ แต่ที่นี้ครั้งแรกก็ตรงจุด คุณหมอและทีมงานเก่งมากรักษาแบบละเอียด ใส่ใจ สถานที่ก็เป็นส่วนตัว จอดรถสะดวก สะอาด รักษาแล้วหายเลยอยากแนะนำต่อ 👍🏻
Wananya Phochai
Wananya Phochai
5 December 2023
ที่จอดรถสะดวก คลินิกสะอาด ตกแต่งสวย เครื่องมือทันสมัย คุณหมอใส่ใจมากค่ะ
Sukhumarn Charoenketkit
Sukhumarn Charoenketkit
5 December 2023
ใครมีปัญหา office syndrome มาที่นี่รับรองไม่ผิดหวังค่ะ

บริการของคลินิกกายภาพบำบัด The Commons Clinic

เคลียร์จบทุกปัญหาอาการปวด พร้อมให้การรักษาอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มักพบในพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตัวอย่างกลุ่มอาการที่เข้าข่าย เช่น ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง (หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดไมเกรน) ปวดหรือเหน็บชาบริเวณขา ตาล้าพร่ามัว มือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบและบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport Injury)

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บจากการปะทะ หรือกระแทกจนทำให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ เคลื่อน หรือฉีกขาด รวมไปถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง เช่น การขยับผิดจังหวะ หรือมีการบิดตัว จนทำให้กล้าม เส้นเอ็น และข้อต่อ ได้รับบาดเจ็บ หรือฉีกขาด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูให้อาการบาดเจ็บดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ข้อเข่าเสื่อม (OA Knee)

กลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย โดยแพทย์จะฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าในกลุ่มไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) เข้าไปที่ข้อเข่า เพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น ลดการเสียดสีและแรงกระแทกขณะใช้งาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและขัดที่ข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ