ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

The Commons Clinic สรุปให้!

  • ข้อไหล่ติดเป็นอาการที่ไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ตามปกติ และทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ข้อหัวไหล่ตามมา
  • อาการข้อไหล่ติดจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะอักเสบ ระยะติดแข็ง และระยะฟื้นตัว
  • เมื่อมีอาการข้อไหล่ติดจะต้องไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่อย่างนั้นจะทำให้ข้อไหล่ติดฟื้นตัวได้ไม่สมบูรณ์ และทำให้ไม่สามารถกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ตามปกติ 
  • การรักษาข้อไหล่ติด สามารถทำได้ 4 วิธี ได้แก่ การใช้ยาบรรเทาอาการปวด การใช้ยาลดการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้เอง
  • เช็กสุขภาพร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด พร้อมวางแผนฟื้นฟูอาการเจ็บปวดเฉพาะคุณได้แล้ววันนี้ ที่ไลน์ @thecommonsclinic หรือโทร 094-694-9563

หากคุณมีอาการปวดไหล่ ขยับไหล่ไม่ได้ ยกแขนไม่สุด ยกแขนไม่ขึ้น หรือยกแขนแล้วเจ็บ นั่นอาจเป็นสัญญาของ ข้อไหล่ติด อาการที่ผิดปกติบริเวณหัวไหล่ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะสามารถรักษาให้หายได้ หากคุณปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธี

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นข้อไหล่ติด?

ลักษณะอาการข้อไหล่ติด ขยับไหล่ไม่ได้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าอาการของคนนั้นอยู่ในระยะใด อย่างไรก็ตาม คุณสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้

  • ไม่สามารถยกแขน หรือเคลื่อนไหวแขนได้สุด ไม่ว่าจะเป็น ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวา หรือข้างหลัง
  • หากยกแขนจนถึงระดับเกือบสุดจะรู้สึกเจ็บปวด
  • มีอาการปวดไหล่ในตอนกลางคืน หรือเวลาที่นอนทับไหล่
  • มีอาการปวดไหล่ตื้อ ๆ และจะเจ็บมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว
  • ไม่สามารถเอื้อมมือไปด้านหลังได้
  • ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก หรือไม่สามารถยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ้าทางศีรษะ
  • ออกแรงผลักเปิดประตูหนัก ๆ ไม่ได้
  • หิ้ว หยิบ หรือยกของหนักลำบาก

หากคุณมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังเป็นข้อไหล่ติดอยู่ แนะนำให้ไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้ง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการปวดไหล่ เจ็บไหล่ แล้วจะยิ่งไม่ขยับหัวไหล่ และทำให้อาการไหล่ติดรุนแรงมากขึ้น

อาการข้อไหล่ติด แบ่งเป็นกี่ระยะ?

อาการข้อไหล่ยึดติดจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่  

  • ระยะอักเสบ (จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 9 เดือน) เป็นระยะที่มีอาการปวดไหล่มากที่สุด โดยอาการปวดจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว และจะปวดไหล่มากในเวลากลางคืน หรือนอนทับหัวข้อไหล่ด้านที่มีปัญหา หลังจากนั้นการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อย ๆ ลดลง
  • ระยะติดแข็ง (จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 – 12 เดือน) เป็นระยะที่อาการปวดไหล่จะลดลง จะเหลือแค่อาการปวดตื้อ ๆ ตลอดทั้งวัน หรือมีอาการปวดแปลบ ๆ เวลาเคลื่อนไหว แต่จะมีอาการข้อไหล่ยึดติดแทน ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากและเคลื่อนไหวได้ลดลง 
  • ระยะฟื้นตัว (จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือนถึง 2 ปี) เป็นระยะที่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้มากขึ้น อาการปวดจะค่อย ๆ ลดลง และถ้าหากไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการดัดข้อไหล่ หรือผ่าตัดส่องกล้องสลายพังผืด เพื่อช่วยให้อาการหายไวขึ้น

ข้อไหล่ติด สาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการข้อไหล่ยึดติด ขยับไหล่ไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อจนกลายเป็นพังผืด ทำให้สามารถเคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง และทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา ซึ่งในบางครังอาจเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ก็ได้

  • การใช้งานซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ
  • ความเสื่อมของข้อไหล่จากการใช้งานมากเกินไป หรือความเสื่อมจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น
  • ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหัวไหล่จนทำให้เอ็นข้อไหล่ฉีกอักเสบ (Rotator cuff tendinitis) หรือกระดูกหักรอบข้อไหล่
  • เป็นผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือโรคพาร์กินสัน
  • เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เข้าไปโจมตีเนื้อเยื่อขอตนเอง จนทำให้เกิดการอักเสบต่ออวัยวะนั้น ๆ

ข้อไหล่ติด สาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการข้อไหล่ยึดติด ขยับไหล่ไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อจนกลายเป็นพังผืด ทำให้สามารถเคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง และทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา ซึ่งในบางครังอาจเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ก็ได้

  • การใช้งานซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ
  • ความเสื่อมของข้อไหล่จากการใช้งานมากเกินไป หรือความเสื่อมจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น
  • ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหัวไหล่จนทำให้เอ็นข้อไหล่ฉีกอักเสบ (Rotator cuff tendinitis) หรือกระดูกหักรอบข้อไหล่
  • เป็นผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือโรคพาร์กินสัน
  • เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เข้าไปโจมตีเนื้อเยื่อขอตนเอง จนทำให้เกิดการอักเสบต่ออวัยวะนั้น ๆ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นข้อไหล่ติด

ผู้ที่เสี่ยงมีอาการข้อไหล่ยึดติด ขยับไหล่ไม่ได้  มีดังนี้

  • มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบในช่วงอายุ 40 – 60 ปี
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับความอ้วน หรือมีความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรค หรือจุดที่ปอด
  • ผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง
  • ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่ข้อไหล่ หรือมีภาวะเส้นเอ็นบริเวณไหล่ฉีกขาด

เมื่อไหร่ที่ต้องรักษาอาการข้อไหล่ติด

ถึงแม้ว่าอาการข้อไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น จะสามารถฟื้นตัวได้เอง แต่เมื่อมีอาการแล้วก็ควรที่จะรีบไปพบนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ เพื่อตรวจอาการและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้อาการสามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ บรรเทาอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นได้ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ลีบ หรือไหล่ยึดติดรุนแรงขึ้นจากการที่ไม่ใช้แขนข้างที่มีอาการ

ข้อไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น รักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาข้อไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น จะเน้นไปที่การรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรค เพื่อช่วยให้ผู้ที่อาการข้อไหล่ติดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ลดความเจ็บปวด เพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว ทำให้สามารถเคลื่อนไหวหัวข้อไหล่ในการทำกิจวัตรประวันได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

รักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ

ในช่วงระยะอักเสบจะมีอาการปวดไหล่มาก แพทย์จะให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบก่อน โดยที่ยังไม่ให้ทำกายภาพบำบัด และเมื่ออาการปวดทุเลาลงก็จะเริ่มให้ทำกายภาพบำบัดต่อ เพื่อฟื้นฟูการใช้งานของหัวไหล่ให้กลับมาเป็นปกติ 

รักษาด้วยยาลดการอักเสบ

แม้ว่าอาการปวดจะดีขึ้น แต่ผู้ที่มีอาการข้อไหล่ยึดติดบางรายก็อาจจะยังมีอาการปวดหลงเหลืออยู่ และทำให้ไม่สามารถบริหารหัวไหล่ได้ดีเท่าที่ควร แพทย์ก็จะแนะนำให้ใช้ยาลดการอักเสบเข้าไปที่ในข้อไหล่ เพื่อลดการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ ซึ่งจะช่วยให้ทำกายภาพบำบัดได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดข้อไหล่ยึดติดจะเน้นที่การดัดหัวไหล่ที่ติด เพื่อทำให้เยื่อบุข้อไหล่ที่หนาตัวและแข็งตัวค่อย ๆ นิ่มลง และยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวข้อหัวไหล่ได้ดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการดัดหัวไหล่ให้ก่อน แล้วค่อยสอนท่าบริหารข้อไหล่ยึดติดที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่มีอาการกลับไปทำต่อที่บ้าน

รักษาด้วยการผ่าตัด

หากมีอาการข้อหัวไหล่ยึดติดรุนแรงมากจนการรักษาด้วยยา หรือการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีกระดูกบางมาก ไม่สามารถเข้ารับการดัดข้อ เพราะจะเสี่ยงทำให้กระดูกหักได้ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เพื่อเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออก ซึ่งจะช่วยให้ขยับข้อไหล่ได้มากขึ้น

รักษาไหล่ติดที่ The Commons Clinic ดีอย่างไร?

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ยกแขนไม่สุด ยกแขนไม่ขึ้น หรือ ยกแขนแล้วเจ็บ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ thecommonsclinic.com ได้เลย 

เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

อาการไหล่ติดสามารถหายเองได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรเข้าไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างเหมาะสมจะดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงข้อไหล่ฟื้นตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนทำให้ไม่สามารถกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ตามปกติ 

ข้อไหล่ยึดติดจะมีสาเหตุหลักมาจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ข้อไหล่ หรือเยื่อหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบ ทำให้เยื่อหุ้มข้อไหล่ที่เคยยืดหยุ่นมีการหนาตัวขึ้นจนกลายเป็นพังผืด ส่งผลให้ไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ตามปกติ และทำให้มีอาการปวดตามมา ซึ่งจะต้องรักษาด้วยการดัดหัวไหล่ที่ยึดติดโดยนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ โดยในระหว่างที่ทำจะมีอาการเจ็บปวดมากจนอาจจะต้องฉีดยาชา หรือดมยาสลบ

ในขณะที่การนวดจะเน้นที่การเพิ่มความผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนเลือด การทำงานของน้ำเหลือง การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่สามารถช่วยให้อาการข้อไหล่ติดดีขึ้นได้ เพราะไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ The Commons Clinic เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

The Commons Clinic เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

The Commons Clinic มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย

รีวิวจากลูกค้าจริง

Excellent
Based on 30 reviews
Attapol Tumhonyam
Attapol Tumhonyam
8 January 2024
คลินิคดูแลดีมากเลย อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาปวดตัวจากการทำงานมาปรึกษาที่คลินิคนี้ได้คับ
PEAR ANANTA
PEAR ANANTA
29 December 2023
แนะนำเลยใครสายรักสุขภาพที่กำลังหาคลีนิคกายภาพดีๆ เราได้มีโอกาสมาที่คลีนิค The Commons Clinic ตกแต่งคลีนิคสไตล์มินิมอลสบายตา สะอาด รู้สึกผ่อนคลายสุดๆ พี่นักกายภาพแนะนำดี ที่สำคัญคุณหมอตรวจละเอียดมากๆและใส่ใจสุดๆ เราเพิ่งเคยทำครั้งแรกตอนแรกกลัวเจ็บ แต่พอลองทำจริงไม่เจ็บเลยชิลมาก ฟินสุดๆ ครั้งหน้ามาซ้ำอีกแน่นอน 👍🏻
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
28 December 2023
คุณหมอและนักกายภาพที่นี่ ดูแลดีที่สุดเท่าที่เคยทำกายภาพมาเลยค่ะ ให้คำอธิบายอย่างละเอียด ทั้งสาเหตุการปวด กลไกการปวด และอธิบายการรักษาที่ให้ชัดเจน หลังการรักษาก็มีการติดตามผลต่อเนื่อง จัดให้เป็นที่ซ่อมร่างชั้นดี สำหรับสาย Adventure ที่บาดเจ็บบ่อยๆแบบเราเลยค่ะ
Puilizy Namthip
Puilizy Namthip
14 December 2023
คุณหมอให้คำปรึกษาและแนะนำดีมากๆค่ะ เครื่องมือและอุปกรณ์ก็ทันสมัย ไปใช้บริการอีกแน่นอนค่ะ
Supawit Popromsri
Supawit Popromsri
13 December 2023
เพิ่งไปมาครั้งแรก ชอบเลย บรรยากาศดีมากกก คุณหมอน่ารัก ปรึกษาดี เบิกประกันฉลุย รักษา office syndrome ได้อย่างตรงจุด
Pong Pong
Pong Pong
10 December 2023
คุณหมอใส่ใจการรักษา อธิบายเข้าใจง่าย ร้านสะอาด และเครื่องมือทันสมัยดีมากครับ👍
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
6 December 2023
มีอาการปวดหลังล่างเนื่องมาจากนั่งนาน ได้มารักษาที่นี่แล้วดีขึ้น ไม่รู้สึกทรมานอีกต่อไป พนักงานมีความใส่ใจพอหลังจากรักษาเสร็จกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นจะมีพนักงานโทรมาสอบถามอาการตลอดเวลา ว่ายังเจ็บตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลไม่ให้เป็นซ้ำอีก แนะนำครับ
ปิยนาถ งามเจริญ
ปิยนาถ งามเจริญ
5 December 2023
ไปมาหลายที่ แต่ที่นี้ครั้งแรกก็ตรงจุด คุณหมอและทีมงานเก่งมากรักษาแบบละเอียด ใส่ใจ สถานที่ก็เป็นส่วนตัว จอดรถสะดวก สะอาด รักษาแล้วหายเลยอยากแนะนำต่อ 👍🏻
Wananya Phochai
Wananya Phochai
5 December 2023
ที่จอดรถสะดวก คลินิกสะอาด ตกแต่งสวย เครื่องมือทันสมัย คุณหมอใส่ใจมากค่ะ
Sukhumarn Charoenketkit
Sukhumarn Charoenketkit
5 December 2023
ใครมีปัญหา office syndrome มาที่นี่รับรองไม่ผิดหวังค่ะ

บริการของคลินิกกายภาพบำบัด The Commons Clinic

เคลียร์จบทุกปัญหาอาการปวด พร้อมให้การรักษาอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มักพบในพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตัวอย่างกลุ่มอาการที่เข้าข่าย เช่น ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง (หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดไมเกรน) ปวดหรือเหน็บชาบริเวณขา ตาล้าพร่ามัว มือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบและบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport Injury)

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บจากการปะทะ หรือกระแทกจนทำให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ เคลื่อน หรือฉีกขาด รวมไปถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง เช่น การขยับผิดจังหวะ หรือมีการบิดตัว จนทำให้กล้าม เส้นเอ็น และข้อต่อ ได้รับบาดเจ็บ หรือฉีกขาด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูให้อาการบาดเจ็บดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ข้อเข่าเสื่อม (OA Knee)

กลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย โดยแพทย์จะฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าในกลุ่มไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) เข้าไปที่ข้อเข่า เพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น ลดการเสียดสีและแรงกระแทกขณะใช้งาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและขัดที่ข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ