ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain)

The Commons Clinic สรุปให้!

  • ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คือ อาการปวดที่เริ่มต้นจากบริเวณช่วงเอว หรือสะโพก และปวดร้าวลงไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจปวดร้าวไปจนถึงน่อง หรือเท้า
  • อาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ได้รับการกดทับจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกระดูกสันหลังตีบแคบ หรือกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ หรือพนักงานขับรถยนต์ที่ต้องนั่งท่าทางเดิม ๆ ผู้ที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้สูงอายุ
  • เมื่อเกิดอาการปวดอาการปวดสะโพก ร่วมกับอาการปวดก้น ปวดแก้มก้น หรือรู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณก้น ในเบื้องต้น ควรไปทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
  • เช็กสุขภาพร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด พร้อมวางแผนฟื้นฟูอาการเจ็บปวดเฉพาะคุณได้แล้ววันนี้ ที่ไลน์ @thecommonsclinic หรือโทร 094-694-9563

ปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นอาการปวดที่มักพบในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ หรือพนักงานขับรถยนต์ที่ต้องนั่งท่าทางเดิม ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงคนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ และคนเป็นโรคอ้วน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ควรไปพบนักกายภาพบำบัดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายได้

สำหรับท่านใดที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี?  thecommonsclinic.com จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร?

ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คือ อาการปวดที่เริ่มต้นจากบริเวณช่วงเอว หรือสะโพก และปวดร้าวลงไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจปวดร้าวไปจนถึงน่อง หรือเท้า โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการที่ขาข้างเดียว แต่ก็สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันที่ขาทั้งสองข้างก็ได้

เมื่อเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาขึ้นแล้ว คุณควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที และนั่งพักสักระยะหนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น แล้วค่อยกลับไปทำกิจกรรมที่ต้องทำต่อ หลังจากนั้นให้หาวันและเวลาไปพบนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาการปวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

ปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่เชื่อมจากกระดูกสันหลังส่วนเอวไปยังกล้ามเนื้อขา ได้รับการกดทับจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มอาการปวดที่เกิดบริเวณหลัง และกลุ่มอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง มีรายละเอียดดังนี้

สาเหตุจากกลุ่มอาการปวดที่เกิดบริเวณหลัง

  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus) : เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากกระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป และมีการเคลื่อนไหวเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ จนทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดตามมา

  • โรคช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) : หรือที่เรียกว่า “กระดูกทับเส้นประสาท” เป็นอาการที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก และข้อต่อตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการทรุดตัว หรือมีกระดูกที่งอกโตขึ้นจะไปกดเบียดทับเส้นประสาท

สาเหตุจากอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง

  • กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) : เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกที่มีชื่อว่า “Piriformis Muscle” เกิดความผิดปกติ หรือเกิดพังผืดจนไปกดทับเส้นประสาท โดยจะมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการนั่งนาน ๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การวิ่ง หรือการเดินทางไกล

  • กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ (Hamstring Muscle) : เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณส่วนต่อระหว่างสะโพกไปจนถึงหัวเข่า โดยจะมีอาการปวดร้าวอยู่บริเวณช่วงต้นขาด้านบน แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะทำให้อาการปวดร้าวลุกลามไปยังด้านหลังขา น่อง มีอาการตึงที่ข้อพับเข้าด้านหลัง และทำให้เหยียดเข่าได้ไม่ตรง

ปวดสะโพกร้าวลงขาอันตรายไหม?

ปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นอาการที่ไม่อันตราย โดยส่วนใหญ่แล้ว หากผู้ที่มีอาการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถหายดีกลับมาเป็นปกติได้

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษา อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ เป็นอัมพาตจนไม่สามารถลุกเดินได้อีก หรือไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะได้

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นอาการอันตรายที่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างทันท่วงที

ปวดสะโพกร้าวลงขา รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

การรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้

การรักษาด้วยยา

แพทย์จะให้ยาในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากหลากหลายสาเหตุ โดยจะปรับให้สอดคล้องกับโรคประจำตัวของคนไข้ เพื่อทำให้การใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด เช่น

  • ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบ

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxant) เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

  • ยากลุ่มกันชัก (Anticonvulsant) และยาต้านเศร้า (Antidepressant) เพื่อรักษาอาการปวดจากการที่มีกระแสประสาทผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาเป็นเพียงการบรรเทาอาการเบื้องต้นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถรับน้ำหนักได้ดี และป้องกันการเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างถาวร

การทำกายภาพบำบัด

หากคุณมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา กายภาพบำบัดนับเป็นวิธีรักษาปวดที่ดีที่สุดที่คุณไม่ควรละเลย เพราะสามารถรักษาที่ต้นเหตุได้ ช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหายกลับมาเป็นปกติได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • การประคบร้อน ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

  • การใช้คลื่นกระแทก หรือช็อคเวฟ (Shock Wave) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่ และทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่อีกครั้ง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และลดอาการปวดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS) เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ลดอาการเอ็นอักเสบ และอาการชาที่ปลายเส้นประสาท

  • การออกกำลังกายโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อยืดเหยียดและเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด

หากอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือโรคกระดูกสันหลังเสื่อมในผู้สูงอายุ แล้วการรักษาด้วยยาและทำกายภาพบำบัดไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง

วิธีแก้ปวดสะโพกร้าวลงขาด้วยตนเอง

หากคุณเริ่มมีอาการปวดสะโพก ปวดแก้มก้น แล้วยังไม่สะดวกที่จะไปทำกายภาพบำบัด เรามีวิธีแก้ปวดสะโพกร้าวลงขามาแนะนำ โดยในเบื้องต้นให้เอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วนำประคบบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยท่าทางดังนี้

  • ท่าที่ 1 : นั่งบนเก้าอี้ พาดขาข้างที่มีอาการปวดไว้บนขาอีกข้างเป็นเลขสี่ แล้วค่อย ๆ ดึงลำตัวลงมาจนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ ยืดค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ

  • ท่าที่ 2 : นอนราบลงบนเสื่อ ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น แล้วไขว้ขาข้างที่ปวดเป็นเลขสี่ แล้วใช้มือ 2 ข้างจับใต้เข่าข้างที่ไม่ปวด แล้วค่อย ๆ ดึงขาเข้ามาให้ชิดอกจนรู้สึกตึงที่บริเวณก้นและสะโพก (ไม่ยกศีรษะหรือหัวไหล่ขึ้น) ยืดค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ

ท่าที่ 3 : นอนราบลงบนเสื่อ แล้วยกขาขึ้นมา 1 ข้าง พยายามเหยียดให้ตรงและตั้งฉากกับพื้นมากที่สุด โดยใช้มือช่วยดึงไว้ จะรู้สึกตึง ๆ บริเวณต้นขาหลัง ยืดค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ

รักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่ The Commons Clinic ดีอย่างไร?

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ thecommonsclinic.com ได้เลย 

เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ The Commons Clinic เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

The Commons Clinic เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

The Commons Clinic มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย

รีวิวจากลูกค้าจริง

Excellent
Based on 30 reviews
Attapol Tumhonyam
Attapol Tumhonyam
8 January 2024
คลินิคดูแลดีมากเลย อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาปวดตัวจากการทำงานมาปรึกษาที่คลินิคนี้ได้คับ
PEAR ANANTA
PEAR ANANTA
29 December 2023
แนะนำเลยใครสายรักสุขภาพที่กำลังหาคลีนิคกายภาพดีๆ เราได้มีโอกาสมาที่คลีนิค The Commons Clinic ตกแต่งคลีนิคสไตล์มินิมอลสบายตา สะอาด รู้สึกผ่อนคลายสุดๆ พี่นักกายภาพแนะนำดี ที่สำคัญคุณหมอตรวจละเอียดมากๆและใส่ใจสุดๆ เราเพิ่งเคยทำครั้งแรกตอนแรกกลัวเจ็บ แต่พอลองทำจริงไม่เจ็บเลยชิลมาก ฟินสุดๆ ครั้งหน้ามาซ้ำอีกแน่นอน 👍🏻
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
28 December 2023
คุณหมอและนักกายภาพที่นี่ ดูแลดีที่สุดเท่าที่เคยทำกายภาพมาเลยค่ะ ให้คำอธิบายอย่างละเอียด ทั้งสาเหตุการปวด กลไกการปวด และอธิบายการรักษาที่ให้ชัดเจน หลังการรักษาก็มีการติดตามผลต่อเนื่อง จัดให้เป็นที่ซ่อมร่างชั้นดี สำหรับสาย Adventure ที่บาดเจ็บบ่อยๆแบบเราเลยค่ะ
Puilizy Namthip
Puilizy Namthip
14 December 2023
คุณหมอให้คำปรึกษาและแนะนำดีมากๆค่ะ เครื่องมือและอุปกรณ์ก็ทันสมัย ไปใช้บริการอีกแน่นอนค่ะ
Supawit Popromsri
Supawit Popromsri
13 December 2023
เพิ่งไปมาครั้งแรก ชอบเลย บรรยากาศดีมากกก คุณหมอน่ารัก ปรึกษาดี เบิกประกันฉลุย รักษา office syndrome ได้อย่างตรงจุด
Pong Pong
Pong Pong
10 December 2023
คุณหมอใส่ใจการรักษา อธิบายเข้าใจง่าย ร้านสะอาด และเครื่องมือทันสมัยดีมากครับ👍
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
6 December 2023
มีอาการปวดหลังล่างเนื่องมาจากนั่งนาน ได้มารักษาที่นี่แล้วดีขึ้น ไม่รู้สึกทรมานอีกต่อไป พนักงานมีความใส่ใจพอหลังจากรักษาเสร็จกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นจะมีพนักงานโทรมาสอบถามอาการตลอดเวลา ว่ายังเจ็บตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลไม่ให้เป็นซ้ำอีก แนะนำครับ
ปิยนาถ งามเจริญ
ปิยนาถ งามเจริญ
5 December 2023
ไปมาหลายที่ แต่ที่นี้ครั้งแรกก็ตรงจุด คุณหมอและทีมงานเก่งมากรักษาแบบละเอียด ใส่ใจ สถานที่ก็เป็นส่วนตัว จอดรถสะดวก สะอาด รักษาแล้วหายเลยอยากแนะนำต่อ 👍🏻
Wananya Phochai
Wananya Phochai
5 December 2023
ที่จอดรถสะดวก คลินิกสะอาด ตกแต่งสวย เครื่องมือทันสมัย คุณหมอใส่ใจมากค่ะ
Sukhumarn Charoenketkit
Sukhumarn Charoenketkit
5 December 2023
ใครมีปัญหา office syndrome มาที่นี่รับรองไม่ผิดหวังค่ะ

บริการของคลินิกกายภาพบำบัด The Commons Clinic

เคลียร์จบทุกปัญหาอาการปวด พร้อมให้การรักษาอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มักพบในพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตัวอย่างกลุ่มอาการที่เข้าข่าย เช่น ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง (หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดไมเกรน) ปวดหรือเหน็บชาบริเวณขา ตาล้าพร่ามัว มือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบและบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport Injury)

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บจากการปะทะ หรือกระแทกจนทำให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ เคลื่อน หรือฉีกขาด รวมไปถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง เช่น การขยับผิดจังหวะ หรือมีการบิดตัว จนทำให้กล้าม เส้นเอ็น และข้อต่อ ได้รับบาดเจ็บ หรือฉีกขาด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูให้อาการบาดเจ็บดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ข้อเข่าเสื่อม (OA Knee)

กลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย โดยแพทย์จะฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าในกลุ่มไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) เข้าไปที่ข้อเข่า เพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น ลดการเสียดสีและแรงกระแทกขณะใช้งาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและขัดที่ข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ