รวมทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับกายภาพบำบัด คืออะไร? ช่วยอะไรได้บ้าง? ราคาเท่าไร? มีขั้นตอน หรือวิธีกายภาพบำบัดอย่างไร?

คนส่วนใหญ่เมื่อมีอาการปวดเนื้อปวดตัวจากการทำงาน มักนิยมไปนวดตัวเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด แต่ถ้าหากคุณมีอาการปวดเรื้อรังบ่อย ๆ ไปนวดแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น และดูท่าจะอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) อาจวิธีรักษาที่เหมาะกับคุณ
กายภาพบำบัด คืออะไร?
กายภาพบำบัด คือ การฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ และเสริมสร้างร่างกายให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะเน้นรักษาด้วยเทคนิคต่าง ๆ ก่อน เช่น การดึง การนวด การประคบร้อน ประคบเย็น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดอย่าง เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่องช็อคเวฟ เป็นต้น

การทำกายภาพบำบัดจะทำภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้ด้านศาสตร์การทำกายภาพบำบัดโดยเฉพาะ เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา ประสาทวิทยา หรือการฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการสอบใบประกอบวิชาชีพก่อน จึงมั่นใจได้ว่า ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการตรวจประเมินอาการ และรักษาที่สาเหตุแน่นอน

กายภาพบำบัด ช่วยอะไรได้บ้าง?
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง หรือปวดสะโพก เป็นต้น
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของร่างกายจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้ยา
  • ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
  • ช่วยฟื้นฟูอาการข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด และนิ้วล็อค 
  • ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการรักษา การผ่าตัด คลอดบุตร ให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ช่วยลดโอกาสผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม และผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • ช่วยให้สามารถใช้แขนขาเทียม หรืออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น ไม้เท้า ได้ดีขึ้น
  • ช่วยปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายให้ดีขึ้น เช่น การเดินตัวเอียง เดินลากเท้า ยกแขนยกขาได้ไม่สุด หรืองอเหยียดเข่าไม่ได้
  • ช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน มีความยืดหยุ่น และป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบในอนาคต
เมื่อไหร่ที่สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดได้?
เมื่อคุณรู้สึกปวดเมื่อยร่างกายบ่อย ๆ รู้สึกเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก หรือเกิดอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย สามารถไปทำกายภาพบำบัดได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการปวดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งข้อดีของการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำหลายครั้ง และฟื้นฟูร่างกายให้หายกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว
รูปตัวอย่างเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ The Commons Clinics เช่น PMS หรือ Shock Wave  (ขนาด 1,200 *800)
เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ The Commons Clinics
เครื่องมือกายภาพบำบัด มีอะไรบ้าง?
นักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการรักษา และทำให้อาการเจ็บป่วยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น
1. การรักษาด้วยมือ (Manual Therapy)
เป็นวิธีกายภาพบำบัดแรก ๆ ที่นักกายภาพบำบัดทำ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการ หรือรักษาอาการต่าง ๆ ในเบื้องต้น โดยจะมีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น การลูบตามผิวหนัง การกดจุด การยืดกล้ามเนื้อเฉพาะบุคคล การขยับ หรือดัดดึงข้อต่อ และการออกกำลังกาย

การรักษาด้วยมือนั้น จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ระบบน้ำเหลือง ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาสามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

2. การประคบร้อน ประคบเย็น (Hot Pack & Cold Pack)
การประคบร้อน ประคบเย็น เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้บรรเทาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นได้ดี ซึ่งจะช่วยลดความต้องการในการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย และทำให้ร่างกายไม่ต้องรับภาระหนักเกินไป

การประคบร้อน ประคบเย็น จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

  • การประคบร้อน : ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการบาดเจ็บ อาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายมากขึ้น
  • การประคบเย็น : ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน โดยความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัวและเลือดออกน้อยลง
3.  การกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS)
เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เครื่อง PMS” (Peripheral Magnetic Stimulation) จะช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ลดอาการเอ็นอักเสบ และอาการชาที่ปลายเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการทำงานของเครื่อง PMS คือ นักกายภาพบำบัดจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่บริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นเส้นประสาท และทำให้เกิดกระบวนการที่ชื่อว่า “Depolarization” ซึ่งจะส่งผลให้มีเลือดมาไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้อาการบาดเจ็บบริเวณดังกล่าวฟื้นตัวได้ดีขึ้น และให้ความรู้สึกผ่อนคลายขณะที่ทำ

นอกจากนี้เครื่อง PMS ยังสามารถใช้กระตุ้นแขน ขา หรือบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะกระตุ้นระบบประสาทให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้สมองส่วนที่ทำงานมีการฟื้นตัว และส่งสัญญาณกลับมาที่บริเวณดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้สามารถขยับแขน หรือขยับขาได้มากขึ้นนั่นเอง

4. การใช้คลื่นกระแทก หรือช็อคเวฟ (Shock Wave)
เครื่องช็อคเวฟ จะเหมาะสำหรับรักษาผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เคยรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้ยา หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น โดยจะทำการส่งคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่ และทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และลดอาการปวดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency)
เป็นหนึ่งในการบำบัดด้วยความร้อนลึก โดยจะส่งคลื่นความถี่พิเศษไปยังบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด และทำให้เกิดความร้อนที่ใต้ชั้นผิว ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง ช่วยลดอาการปวด อาการบวม และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่บริเวณดังกล่าวให้ดีขึ้นได้
6. การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
เป็นหนึ่งในการบำบัดด้วยความร้อนลึก และมีหลักการรักษาคล้าย ๆ กับการใช้คลื่นความถี่วิทยุ โดยจะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปที่บริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ แล้วทำให้เกิดการสั่นสะเทือนจนเกิดความร้อนที่บริเวณดังกล่าว ทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็งเกิดการคลายตัว และนิ่มลง ช่วยลดอาการปวด อาการบวม และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
วิธีกายภาพบำบัดที่ The Commons Clinics ทำอย่างไร?
ใครที่มีอาการปวดเรื้อรัง ปวดเข่า หรือได้รับบาดเจ็บจากเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย สามารถนัดหมายเข้ามาให้ The Commons Clinics ดูแลและฟื้นฟูอาการต่าง ๆ ได้เลย โดยคลินิกของเรา มี 3 ขั้นตอนกายภาพบำบัดที่ให้การดูแลรักษาอย่างครอบคลุม ดังนี้
ขั้นตอนกายภาพบำบัด 1 : แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดประเมินอาการอย่างละเอียด
หลังจากที่กรอกประวัติคนไข้เรียบร้อยแล้ว แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดของเราจะทำการซักประวัติ และตรวจประเมินร่างกายอย่างละเอียด เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการรักษามีอาการเจ็บปวดที่ส่วนใดบ้าง ลักษณะอาการเจ็บปวดเป็นอย่างไร สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติไหม แล้ววางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ขั้นตอนกายภาพบำบัด 2 : ทำการรักษาตามแผนที่วางไว้
ที่ The Commons Clinics เราจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดต่าง ๆ เช่น แผ่นไฟฟ้าทำความร้อน เครื่อง PMS หรือ เครื่องช็อคเวฟร่วมกันในการรักษา 1 ครั้ง เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด และทำให้ผู้เข้ารับการรักษามีอาการดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ
ขั้นตอนกายภาพบำบัด 3 :  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีกายภาพบำบัดด้วยตัวเองต่อที่บ้าน
หลังจากที่รักษาเรียบร้อยแล้ว แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด จะให้คำแนะนำในการดูแลร่างกายอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การยืดกล้ามเนื้อ ท่านั่งทำงาน หรือประเภทการออกกำลังกายที่ควรทำเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เลย
ข้อควรระวังในการทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดนั้น ไม่ควรทำถี่จนเกินไป เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้า ระบม และอ่อนเพลียได้ แนะนำให้ทำสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หรือเดือนละครั้งจะดีกว่า นอกจากนี้ หลังจากที่ทำการรักษาแล้ว ไม่ควรกด บีบ หรือนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่รักษา เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบและเขียวช้ำได้ง่าย
กายภาพบำบัด ราคาเท่าไร?
การทำกายภาพบำบัด ราคาจะแตกต่างกันไปตามเป้าหมายในการรักษา ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่

  • Office Syndrome : เป็นกลุ่มอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดท้ายทอย หลังค่อม และไหล่ติด จะมีราคาอยู่ที่ 1,500 บาทต่อครั้ง ใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง 
  • Sport Injury : เป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบและบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา จะมีราคาอยู่ที่ 1,500 บาทต่อครั้ง ใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง 
  • OA Knee : เป็นกลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อม จะรักษาด้วยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า หรือฉีด PRP จะมีราคาอยู่ที่ 6,900 บาท ต่อการฉีด 1 ครั้ง

สำหรับใครที่สนใจ สามารถนัดเข้าใช้บริการล่วงหน้าได้เลยที่เบอร์โทรศัพท์ 094-694-9563 หรือ Line OA @thecommonsclinic (ตามเวลาทำการของคลินิก)

เราจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดตลอดชีวิตไหม?
การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องทำตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่สาเหตุ หลังจากที่กล้ามเนื้อฟื้นฟูดีขึ้น ไม่มีอาการปวด ร่างกายสามารถใช้งานได้ปกติ ก็สามารถหยุดทำกายภาพบำบัดได้เลย 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รักษาหายแล้ว ควรดูแลร่างกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการปวดซ้ำที่บริเวณเดิมอีก

กายภาพบำบัด จะต้องทำกี่ครั้ง?
จำนวนครั้งในการทำกายภาพบำบัดจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการปวด และการศักยภาพในการฟื้นตัวของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 5 – 10 ครั้ง ก็จะมีอาการดีขึ้นจนกลับมาเป็นปกติแล้ว
กายภาพบำบัดกับนวดแตกต่างกันอย่างไร?
การทำกายภาพบำบัดจะเป็นการบำบัดฟื้นฟูอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายเป็นหลัก ในขณะที่การนวดจะเน้นการทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และแก้อาการปวดเมื่อยส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในชั้นผิวหนังของร่างกายเท่านั้น
สรุป สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด คือ การบำบัดฟื้นฟูอาการปวด หรืออักเสบที่เกิดจากกล้ามเนื้อ กระดูก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่า ไม่ออกกำลังกาย ไม่ยืดกล้ามเนื้อ หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีอาการปวดเรื้อรัง เพราะเป็นการรักษาที่ต้นตอ โดยไม่ใช้ยา และไม่ต้องผ่าตัด ทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

  • ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
  • เวลาทำการ​ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
  • เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
  • Line OA : @thecommonsclinic

Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด

18/06/66 เวลา 23:26 น.