โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis)

The Commons Clinic สรุปให้!

  • โรครองช้ำ คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า จนทำให้มีอาการเจ็บส้นเท้าด้านใน หรือตามแนวแถบพังผืดตามมา
  • ผู้ที่เป็นโรครองช้ำจะรู้สึกปวดส้นเท้ามากในตอนที่วางส้นเท้าลงกับพื้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่ตื่นนอน หรือพักผ่อนเป็นระยะเวลานาน ๆ และอาการปวดจะค่อย ๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2 – 3 ก้าว
  • เมื่อเป็นโรครองช้ำแล้ว จะต้องรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เอ็นร้อยไหวอักเสบ เกิดอาการปวดเรื้อรัง หรือเกิดหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าได้
  • วิธีรักษาโรครองช้ำจะแบ่งเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การรับประทานยาร่วมกับทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยเครื่อง Shock Wave และการผ่าตัด
  • เช็กสุขภาพร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด พร้อมวางแผนฟื้นฟูอาการเจ็บปวดเฉพาะคุณได้แล้ววันนี้ ที่ไลน์ @thecommonsclinic หรือโทร 094-694-9563

คุณเคยมีอาการปวดส้นเท้ามากในตอนที่เดินครั้งแรกหลังจากที่ตื่นนอนไหม? แล้วอาการปวดส้นเท้านั้นค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากที่เดิน หรือออกกำลังกายไปสักพัก นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “โรครองช้ำ” ก็ได้ 

แล้วโรครองช้ำ คืออะไร? มีลักษณะอาการอย่างไร? เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะต้องดูแล หรือรักษาอย่างไร? Thecommonsclinic.com ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว อ่านได้เลยที่บทความนี้! 

โรครองช้ำ คืออะไร?

“โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “โรครองช้ำ” คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า จนทำให้มีอาการเจ็บส้นเท้าด้านใน หรือตามแนวแถบพังผืดตามมา โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดส้นเท้ามากในตอนที่วางส้นเท้าลงกับพื้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่ตื่นนอน หรือพักผ่อนเป็นระยะเวลานาน ๆ และอาการปวดจะค่อย ๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2 – 3 ก้าว ซึ่งอาการจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งหลังจากที่พักผ่อนนาน ๆ วนซ้ำไปเรื่อย ๆ 

โรครองช้ำนั้น เมื่อเป็นแล้ว จะต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้อาการอักเสบบริเวณเอ็นส้นเท้ารุนแรงมากขึ้นจนลุกลามไปถึงเอ็นร้อยหวาย ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง หรือเกิดหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าได้

โรครองช้ำสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

โรครองช้ำเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุก ๆ ช่วงอายุ แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีสาเหตุมาจากการที่พังผืดใต้ฝ้าเท้า ซึ่งทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า และรองรับอุ้งเท้า ในขณะที่เรายืน หรือเดิน มีอาการตึงมากเกินกว่าที่พังผืดจะรับไหว จนทำให้เกิดความเสียหาย  อักเสบ หรือฉีกขาด และทำให้กลายเป็นโรครองช้ำในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรครองช้ำ

โรครองช้ำเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ความเสียหายจะค่อย ๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อยจนทำให้พังผืดที่บริเวณส้นเท้าเกิดการอักเสบ และกลายเป็นโรคนี้ในที่สุด

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้พังผืดใต้เท้ามีอาการตึงและได้รับบาดเจ็บ มีดังนี้

  • เส้นเอ็นร้อยหวาย หรือพังผืดฝ่าเท้าตึงเกินไป ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งเกิดได้จากการไม่ค่อยได้ยืดคลายเส้นเอ็นหลังจากที่ใช้งานส้นเท้าหนัก ทั้งจากการยืนนาน ๆ และเดินนาน ๆ
  • เส้นเอ็นเสื่อมจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ 
  • ประกอบอาชีพที่จะต้องยืน หรือเดินทั้งวัน
  • สวมใส่รองเท้าพื้นแข็ง หรือรองเท้าส้นสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในทุก ๆ วัน
  • มีภาวะกระดูกงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า
  • ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อลีบจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น
  • มีโครงสร้างเท้าแบน หรืออุ้งเท้าสูง จนทำให้การลงน้ำหนักเท้า หรือการเดินผิดปกติ

โรครองช้ำ อาการเป็นแบบไหน?

ลักษณะของอาการโรครองช้ำสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากความเจ็บปวดแรกหลังจากที่วางส้นเท้า หรือที่เราเรียกกันว่า “First Step Pain” หรือ “Morning Pain” โดยผู้ที่เป็นโรครองช้ำ เมื่อตื่นนอนขึ้นมาแล้ว หลังจากที่ก้าวเท้าลุกออกจากเตียง และวางส้นเท้าลงกับพื้น จะรู้สึกเจ็บปวดจนสะดุ้งเลย หลังจากนั้นเมื่อลองเดินไปสัก 2 – 3 ก้าว อาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลง และจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งหลังจากที่เราพักผ่อนเป็นระยะเวลานาน

ผู้ที่เป็นโรครองช้ำนั้น ในระยะแรก อาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากนัก อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ไม่รีบรักษา อาการปวดจะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ไม่สามารถเดินได้นานเหมือนปกติ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรครองช้ำ

หากคุณมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากจะมีโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกับโรครองช้ำอยู่ เช่น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจวินิจฉันก่อนว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ เพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรครองช้ำนั้น มี 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

  • ซักประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อดูว่าเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครองเช้าไหม
  • เอกซเรย์บริเวณส้นเท้า เพื่อดูว่ามีการสร้างแคลเซียมบริเวณที่พังผืดอักเสบ หรือมีจงอยกระดูกบริเวณส้นเท้าของจุดเกาะเส้นเอ็นหรือไม่
  • อัลตราซาวด์ส้นเท้า เพื่อดูว่าเส้นเอ็นมีความหนาหรือบวมอักเสบหรือไม่

โรครองช้ำ รักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรครองช้ำ สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ซึ่งสามารถทำร่วมกันได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา มีรายละเอียดดังนี้

1. รับประทานยา ร่วมกับทำกายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

เป็นวิธีรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรองช้ำในระยะแรก โดยแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น ลดการเดินให้น้อยลง เลือกสวมใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่ม

พร้อมกับแนะนำให้ทำท่าบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นประจำ เพื่อช่วยให้เอ็นยืดหยุ่นมากขึ้น และเข้ารับการทำกายภาพบำบัดด้วยการนวดฝ่าเท้า เพื่อทำให้พังผืดนิ่มลง ซึ่งจะช่วยให้อาการอักเสบที่บริเวณส้นเท้าดีขึ้นได้

ตัวอย่างท่าบริหารรักษาโรครองช้ำ

  • ท่าที่ 1 : นั่งเหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า แล้วใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ทำค้างไว้ 15 – 20 วินาที และทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
  • ท่าที่ 2 : ยืนหันหน้าเข้ากำแพง ใช้มือยันกำแพงไว้ แล้วถอยเท้าที่ต้องการยืดไว้ข้างหลังประมาณ 2 ก้าว และย่อเข้าด้านหน้าลงโดยที่เข่าไม่เลยปลายเท้า และขาด้านหลังจะต้องเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา ยืดจนรู้สึกว่าน่องตึง ทำค้างไว้ 15 – 20 วินาที และทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 3 : นั่งบนเก้าอี้ และวางฝ่าเท้าลงบนขวดน้ำ หรือลูกเทนนิส แล้วคลึงไปมาใต้ฝ่าเท้าจนรู้สึกว่าพังผืดใต้ฝ่าเท้าคลายตัว

2. รักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave เป็นการยิงคลื่นกระแทกเข้าไปที่จุดเกาะเอ็นพังผืดที่บาดเจ็บบริเวณส้นเท้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่ และเกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดส้นเท้าอย่างมาก และทำให้การฟื้นตัวของโรครองช้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. รักษาด้วยการผ่าตัด

ในกรณีที่การรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด และทำ Shock Wave ไม่ได้ผล (พบได้น้อยมาก) แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดพังผืดฝ่าเท้าบางส่วนออก เพื่อลดความตึงลง และทำให้เอ็นหย่อนคลายมากขึ้น

รักษาโรครองช้ำถาวรด้วยเครื่อง Shock Wave ที่ The Commons Clinic

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการของโรครองช้ำ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ thecommonsclinic.com ได้เลย 

เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ The Commons Clinic เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

The Commons Clinic เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

The Commons Clinic มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย

รีวิวจากลูกค้าจริง

Excellent
Based on 30 reviews
Attapol Tumhonyam
Attapol Tumhonyam
8 January 2024
คลินิคดูแลดีมากเลย อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาปวดตัวจากการทำงานมาปรึกษาที่คลินิคนี้ได้คับ
PEAR ANANTA
PEAR ANANTA
29 December 2023
แนะนำเลยใครสายรักสุขภาพที่กำลังหาคลีนิคกายภาพดีๆ เราได้มีโอกาสมาที่คลีนิค The Commons Clinic ตกแต่งคลีนิคสไตล์มินิมอลสบายตา สะอาด รู้สึกผ่อนคลายสุดๆ พี่นักกายภาพแนะนำดี ที่สำคัญคุณหมอตรวจละเอียดมากๆและใส่ใจสุดๆ เราเพิ่งเคยทำครั้งแรกตอนแรกกลัวเจ็บ แต่พอลองทำจริงไม่เจ็บเลยชิลมาก ฟินสุดๆ ครั้งหน้ามาซ้ำอีกแน่นอน 👍🏻
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
ชุลีพันธ์ กลั่นชื่น
28 December 2023
คุณหมอและนักกายภาพที่นี่ ดูแลดีที่สุดเท่าที่เคยทำกายภาพมาเลยค่ะ ให้คำอธิบายอย่างละเอียด ทั้งสาเหตุการปวด กลไกการปวด และอธิบายการรักษาที่ให้ชัดเจน หลังการรักษาก็มีการติดตามผลต่อเนื่อง จัดให้เป็นที่ซ่อมร่างชั้นดี สำหรับสาย Adventure ที่บาดเจ็บบ่อยๆแบบเราเลยค่ะ
Puilizy Namthip
Puilizy Namthip
14 December 2023
คุณหมอให้คำปรึกษาและแนะนำดีมากๆค่ะ เครื่องมือและอุปกรณ์ก็ทันสมัย ไปใช้บริการอีกแน่นอนค่ะ
Supawit Popromsri
Supawit Popromsri
13 December 2023
เพิ่งไปมาครั้งแรก ชอบเลย บรรยากาศดีมากกก คุณหมอน่ารัก ปรึกษาดี เบิกประกันฉลุย รักษา office syndrome ได้อย่างตรงจุด
Pong Pong
Pong Pong
10 December 2023
คุณหมอใส่ใจการรักษา อธิบายเข้าใจง่าย ร้านสะอาด และเครื่องมือทันสมัยดีมากครับ👍
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
NejuTravel / บันทึกเที่ยว
6 December 2023
มีอาการปวดหลังล่างเนื่องมาจากนั่งนาน ได้มารักษาที่นี่แล้วดีขึ้น ไม่รู้สึกทรมานอีกต่อไป พนักงานมีความใส่ใจพอหลังจากรักษาเสร็จกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นจะมีพนักงานโทรมาสอบถามอาการตลอดเวลา ว่ายังเจ็บตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลไม่ให้เป็นซ้ำอีก แนะนำครับ
ปิยนาถ งามเจริญ
ปิยนาถ งามเจริญ
5 December 2023
ไปมาหลายที่ แต่ที่นี้ครั้งแรกก็ตรงจุด คุณหมอและทีมงานเก่งมากรักษาแบบละเอียด ใส่ใจ สถานที่ก็เป็นส่วนตัว จอดรถสะดวก สะอาด รักษาแล้วหายเลยอยากแนะนำต่อ 👍🏻
Wananya Phochai
Wananya Phochai
5 December 2023
ที่จอดรถสะดวก คลินิกสะอาด ตกแต่งสวย เครื่องมือทันสมัย คุณหมอใส่ใจมากค่ะ
Sukhumarn Charoenketkit
Sukhumarn Charoenketkit
5 December 2023
ใครมีปัญหา office syndrome มาที่นี่รับรองไม่ผิดหวังค่ะ

บริการของคลินิกกายภาพบำบัด The Commons Clinic

เคลียร์จบทุกปัญหาอาการปวด พร้อมให้การรักษาอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มักพบในพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตัวอย่างกลุ่มอาการที่เข้าข่าย เช่น ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง (หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดไมเกรน) ปวดหรือเหน็บชาบริเวณขา ตาล้าพร่ามัว มือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบและบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport Injury)

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บจากการปะทะ หรือกระแทกจนทำให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ เคลื่อน หรือฉีกขาด รวมไปถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง เช่น การขยับผิดจังหวะ หรือมีการบิดตัว จนทำให้กล้าม เส้นเอ็น และข้อต่อ ได้รับบาดเจ็บ หรือฉีกขาด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูให้อาการบาดเจ็บดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ข้อเข่าเสื่อม (OA Knee)

กลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย โดยแพทย์จะฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าในกลุ่มไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) เข้าไปที่ข้อเข่า เพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น ลดการเสียดสีและแรงกระแทกขณะใช้งาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและขัดที่ข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ