อาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดบั้นเอว เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในช่วงหนึ่งของชีวิต โดยทั่วไปแล้วมีมากถึง 36 เปอร์เซ็นต์ที่พบเจอกับอาการเจ็บปวดที่ทรมาน และมีอาการกำเริบ เป็นซ้ำๆ การปวดหลังส่วนล่าง ปวดหลังร้าวลงขา ปวดบั้นเอวร้าวระบมนั้น มักเกิดจากปัจจัยในชีวิตประจำวัน เช่นนั่งนานเกินไป การยกของหนัก การหักโหมการออกกำลังกายก็เป็นสาเหตุที่สำคัญให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดบั้นเอวได้

ตัวอย่างเช่น หากมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดบั้น ขณะยืน อาจจะเป็นเพราะความเครียดตึง จากการทรงตัว การรักษาเบื้องต้นคือการออกกำลังกาย เพื่อรองรับกระดูกแกนกางลำตัวให้มีความยืดหยุ่น และมั่นคง

สาเหตุที่มีปวดหลัง ปวดบั้นเอวเวลานั่ง และเวลายืน?

ความเครียด ตึงบริเวณที่หลังจากการทรงตัวเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง ปวดบั้นเอวร้าวลงขา โดยทั่วไปแล้วเมื่อคุณยืน และเดิน จะมีการเพิ่มแรงกดดันบนกระดูกสันหลัง และอาจทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดอาการเกร็งส่งผลให้เกิดอาการปวดได้

สาเหตุทั่วไปของอาการปวดหลัง ปวดบั้นเอวร้าวลงขา

1.กล้ามเนื้อตึง

สาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดบั้นเอวร้าวลงขา ที่พบบ่อยที่สุดคือความเครียด ความอักเสบของกล้ามเนื้อ สิ่งนี้เหล่านี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการยกของหนัก การเคลื่อนไหวกะทันหัน หรือการออกแรงมากเกินไประหว่างทำกิจกรรม

2.หมอนรองกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกเคลื่อน เกิดขึ้นเมื่อแกนในที่อ่อนนุ่มของหมอนรองกระดูกสันหลังมีอาการเสื่อม และทำให้ยื่นออกมาผ่านชั้นนอก ซึ่งอาจนำไปสู่การกดทับของเส้นประสาท และความเจ็บปวด

3.โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมลงตามธรรมชาติ ส่งผลให้มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และความยืดหยุ่นลดลง

4.อาการปวดสะโพก

อาการปวดสะโพกมีลักษณะเฉพาะคืออาการปวดที่แผ่ไปตามเส้นทางของเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งจะขยายจากหลังส่วนล่างผ่านบั้นท้าย และลงไปที่ขา มักเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทไซอาติกจากสภาวะต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกสันหลังตีบ

5.ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และลำตัวที่อ่อนแอ หรือขาดการสมดุลอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

6.ท่าทางที่ไม่ดี

ท่าทางที่ไม่ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน ก็มีผลอาจทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณหลังส่วนล่าง บั้นเอว ตึงจนทำให้เกิดอาการปวดได้

อาการปวดหลัง ปวดบั้นเอวร้าวลงขาพบได้บ่อยแค่ไหน?

ประมาณ 4 ใน 5 คนมีอาการปวดหลัง ปวดบั้นเอว แต่บางคนมีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดหลังมากกว่าคนอื่นๆ โดยมีปัจจัยเสี่ยงสําหรับอาการปวดหลังได้แก่

  • อายุ: ผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีอาการปวดหลังมากขึ้น เหนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลังมีอาการเสื่อมลง
  • น้ําหนัก: ผู้ที่มีน้ําหนักเกิน/เป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดหลัง เพราะน้ําหนักส่วนเกินสามารถสร้างแรงกดต่อข้อต่อต่างๆได้
  • สุขภาพโดยรวมต่างๆ: การที่มีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่อ่อนแอไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ ซึ่งอาจนําไปสู่ความเเคล็ดขัดยอก
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป 
  • อาชีพ และวิถีชีวิต: งาน ที่ต้องยกของหนักสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่หลังได้
  • ปัญหาโครงสร้างของร่างกาย: อาการปวดหลังอย่างรุนแรงอาจเป็นผลมาจากภาวะต่างๆ เช่น กระดูกสันหลังคด หรือโรคต่างๆ เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม มะเร็งบางชนิด

การรักษาอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวที่สามารถป้องกัน และทำได้เอง

  • การผ่อนคลาย บางครั้งการนั่งเฉยๆ ก็ช่วยลดแรงกดจากหลังส่วนล่างได้เพียงพอเพื่อลดอาการปวดได้อย่างมาก แต่การออกกำลังกายเคลื่อนไหว และการออกกำลังกายท่าบริหารเบาๆที่ช่วยลดอาการปวดหลังก็สามารถทำได้เช่นกัน
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์เหล่านี้ ได้แก่ ibuprofen (Motrin, Advil) และ naproxen (Aleve)
  • ยืน และนั่งตัวตรง ท่าทางก็มีความสำคัญต่อการกระจายน้ำหนักที่เหมาะสม การยืน และนั่งตัวตรงก็จะช่วยกระจายบาลานซ์ในร่ากายได้ดี
  • รองเท้า และกายอุปกรณ์เสริมที่ช่วยพยุงตัว หารองเท้าหรือแผ่นรองรองเท้าที่ช่วยให้เท้าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • เลือกที่นอนที่ดี การใช้ที่นอนที่ช่วยในการซัพพอร์ที่หลังก็เป็นตัวเลือกที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากจำเป็น ควรทำท่าท่างให้ถูกต้องหลังตรง และงอขาเพื่อให้กล้ามเนื้อขาทำหน้าที่ส่วนใหญ่
  • ลดน้ำหนัก หากคุณมีน้ำหนักเกิน การมีน้ำหนักที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการปวดหลังได้

ถ้ารักษาไม่หายควรทำอย่างไรดี?

สามารถมาที่ The Commons Clinic คลินิกกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา ตรวจ และรักษาทางกายภาพบำบัดครบวงจร ดูแลโดยทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave)และเครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ไม่ว่าคุณจะมีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดข้อต่อ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ แขนขาอ่อนแรง ข้อเข่าเสื่อม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ก็สามารถให้เราดูแลได้! เราพร้อมทำการรักษาที่ต้นเหตุด้วยเทคโนโลยีกายภาพบำบัดสมัยใหม่ พร้อมแนะนำท่าบริหารเฉพาะปัญหาของแต่ละบุคคล รับรองว่าอาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับ อาการปวดหลัง ปวดบั้นเอวร้าวลงขา อยู่หรือไม่  อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

  • ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
  • เวลาทำการ​ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
  • เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563

ขอบคุณข้อมูลจาก : Health line, Medical news today

28/12/66 เวลา 20:20 น.