
ในปัจจุบันหันมาทำงานาน Work From Home หรือ WFH และทำงานแบบไฮบริดกันมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของความสะดวกสบาย และความยืดหยุ่นในการจัดการเวลา แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้เช่นกัน โดยอาจเกิดขึ้นหากไม่ระมัดระวังและไม่มีการจัดการสุขภาพในการทำงานที่บ้านอย่างเหมาะสม
ดังนั้นการทำงาน WFH ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะปลอดภัยจากออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) แต่ช่วยให้มีความยืดหยุ่นของเวลา และกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้บ้าง เพราะสามารถพักการทำงาน เดินขยับตัวรอบๆบ้านได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องการสร้างสภาพแวดล้อมของโฮมออฟฟิศที่สะดวกสบาย และถูกหลักสรีรศาสตร์ และปรับใช้นิสัยที่ดีต่อสุขภาพเพื่อลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนั่งเป็นเวลานาน และการใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นบทความนี้จะมาแนะนำว่า WFH อย่างไรดีให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
Table of Contents
Toggleออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เกิดจากอะไร?
ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่ครอบคลุมอาการของกล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลังที่เกี่ยวข้องกับท่าทางการนั่งที่ไม่ดีขณะการทํางาน มักเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศงสาที่ใช้เวลานานในการนั่งในตําแหน่งเดียวอยู่ที่หน้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเกิดผลกระทบต่าสุขภาพร่างกายได้ เช่น อาการปวดตึงกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อาการชาที่มือ แขน อาการปวดบวมตามข้อต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอาการปวดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา และความเครียดจากงาน
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
Office Syndrome ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมการทํางานที่ไม่เอื้ออํานวย ความสูงของโต๊ะที่ไม่เหมาะสม หน้าจอคอมพิวเตอร์ การวางแป้นพิมพ์ และเมาส์ที่ไม่เหมาะสมก็มีส่วนทําให้เกิดขึ้น รวมถึงท่านั่งที่ผิดธรรมชาติ การใช้ท่าที่งอหรือโค้งด้วยไหล่โค้งมน นําไปสู่การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะค่อยๆ ทําให้กล้ามเนื้อแกนกลางอ่อนแอลง และเพิ่มความตึงเครียดในกลุ่มกล้ามเนื้ออื่นๆอีกด้วย นอกจากนี้การจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทําให้ตาแห้ง ตาอักเสบ และปวดหัวได้ และยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆที่ตามมาเช่น ภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ และความเหนื่อยล้า หมดไฟได้
อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
- ปวดคอ มีอาการปวด และตึงบริเวณคอ อาจมีตั้งแต่รู้สึกปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดรุนแรง
- ปวดหลัง อาการปวดหลังส่วนล่าง หรือหลังส่วนบน โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และทรวงอก
- ปวดไหล่ ปวดหรือไม่สบายบริเวณไหล่ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการวางท่าทางที่ไม่ดี หรือการนั่งเป็นเวลานาน
- ปวดข้อมือ มีอาการปวด หรือรู้สึกเสียวซ่า ชาที่ข้อมือ ส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือการวางตำแหน่งข้อมือที่ไม่ดีขณะพิมพ์ หรือใช้เมาส์
- ปวดข้อศอก บางครั้งเรียกว่า “tennis elbow” หรือ “golfer’s elbow “ (บริเวณข้อศอก) ซึ่งอาจเป็นผลจากการเคลื่อนไหวแขนซ้ำๆ
- อาการปวดหัว มีอาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะประเภทตึงเครียดหรือไมเกรน มักเกี่ยวข้องกับความเครียด
- อาการปวดตา ตาแห้ง คัน หรือระคายเคือง ตาพร่ามัว และความเมื่อยล้าของดวงตาที่เกิดจากการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการปวดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงในแต่ละคน และอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลาในการทำงานในสำนักงาน
เราจะป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไรในการ WFH
การป้องกันออฟฟิศซินโดรมขณะ WFH ต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อม และตามหลักสรีรศาสตร์ ที่ดีต่อสุขภาพ ต่อไปนี้เป็นวิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรมในขณะที่ WFH
1.พื้นที่ทำงานตามหลักสรีระศาสตร์
– ลงทุนซื้อเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ และโต๊ะปรับระดับได้ หากเป็นไปได้ เพื่อรองรับท่าทางที่เหมาะสม
– ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจอคอมพิวเตอร์ของคุณอยู่ในระดับสายตาเพื่อลดความตึงเครียดที่คอ บ่า และหลัง
– วางตำแหน่งแป้นพิมพ์ และเมาส์เพื่อให้ข้อมือของคุณอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลาง และผ่อนคลายขณะพิมพ์
-นั่งหลังตรง และเท้าราบกับพื้นหรือบนที่วางเท้า
-ใช้อุปกรณ์รองนั่ง หรือพยุงเอวเพื่อรักษาส่วนโค้งตามธรรมชาติของหลังส่วนล่าง
2.พักสักหน่อยก็ยังดี
– พักสั้นๆ ทุกชั่วโมงเพื่อ ยืดตัว และเคลื่อนไหวไปรอบๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการตึงของกล้ามเนื้อ
– ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20 สำหรับอาการปวดตา: ทุกๆ 20 นาที ให้มองบางสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุตเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
3.การดูแลดวงตา
– จัดตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงแสงจ้า และให้แน่ใจว่ามีแสงสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ทำงาน
4.การออกกำลังกาย
– การออกกำลังกายเป็นประจำแม้จะเป็นเพียงการเดินในระยะสั้นๆ หรือออกกำลังกายแบบยืดเส้นยืดสายในช่วงพักก็ได้
5.การจัดกับการความเครียด
– ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายความเครียด เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การทำสมาธิ เพื่อจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
– กำหนดขอบเขตเพื่อป้องกันการทำงานที่หนักเกินไป และรักษาสมดุลระหว่างชีวิต และการทำงานให้ดี
The Commons Clinic จะช่วยคุณได้อย่างไร?
The Commons Clinic คลินิกกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา ตรวจ และรักษาทางกายภาพบำบัดครบวงจร ดูแลโดยทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave)และเครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ไม่ว่าคุณจะมีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดข้อต่อ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ แขนขาอ่อนแรง ข้อเข่าเสื่อม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ก็สามารถให้เราดูแลได้! เราพร้อมทำการรักษาที่ต้นเหตุด้วยเทคโนโลยีกายภาพบำบัดสมัยใหม่ พร้อมแนะนำท่าบริหารเฉพาะปัญหาของแต่ละบุคคล รับรองว่าอาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับ อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อยู่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย
The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด
ขอบคุณข้อมูลจาก : Psychology today, Dtap clinic, Dtap clinic