
นิ้วล็อคอาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุและวิธีรักษาอย่างไร
คุณเคยรู้สึกปวดที่นิ้วมือ งอนิ้วแล้วรู้สึกติดขัด หรือมีอาการล็อคค้างไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้บ้างไหม? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคนิ้วล็อค ซึ่งพบได้บ่อยในวัยทำงานที่ต้องใช้นิ้วมือทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน วันนี้ คลินิกกายภาพบำบัด เดอะคอมมอนส์คลินิก (The Commons Clinic) จะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนิ้วล็อค พร้อมแนะนำวิธีรักษาและป้องกันที่ถูกต้องเอง จะน่าสนใจแค่ไหน ตามไปดูกันเลย!
โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) คืออะไร
นิ้วล็อค หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Trigger Finger เป็นภาวะที่เส้นเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วมือเกิดการอักเสบและบวม ทำให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นตีบแคบลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นเป็นไปได้ยาก เกิดอาการติดขัด ล็อค หรือค้างเวลางอหรือเหยียดนิ้ว บางครั้งต้องใช้มืออีกข้างช่วยดึงนิ้วให้เหยียดออก
ใครบ้างเสี่ยงเป็นนิ้วล็อค
นิ้วล็อคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในกลุ่มคนต่อไปนี้
- พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์งาน หรือใช้เมาส์เป็นเวลานาน
- ผู้ที่ทำงานใช้นิ้วมือซ้ำ ๆ เช่น ช่างเสริมสวย นักดนตรี พนักงานโรงงาน
- ผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเสื่อม
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีประวัติการบาดเจ็บที่มือ
- นักกีฬาที่ต้องจับอุปกรณ์แน่น เช่น นักกอล์ฟ นักเทนนิส
นิ้วล็อคเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
สาเหตุหลักของการเกิดนิ้วล็อคมีดังนี้
- การใช้งานนิ้วมือซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน
- การจับของหนักหรือออกแรงบีบจับมากเกินไป
- การได้รับบาดเจ็บที่นิ้วมือ
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ ข้อเสื่อม
- ความเสื่อมตามวัย
นิ้วล็อคอาการเป็นอย่างไร
อาการของนิ้วล็อคจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : มีอาการปวดและรู้สึกไม่สบายบริเวณโคนนิ้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากพักการใช้งานนิ้วเป็นเวลานาน แต่ยังสามารถงอและเหยียดนิ้วได้ตามปกติ
- ระยะที่ 2 : มีอาการปวดมากขึ้น และเริ่มมีอาการติดขัดเวลางอหรือเหยียดนิ้ว บางครั้งอาจได้ยินเสียงดังกริ๊ก หรือรู้สึกสะดุดเวลาขยับนิ้ว
- ระยะที่ 3 : นิ้วเริ่มมีอาการล็อคค้าง ต้องใช้มืออีกข้างช่วยดึงให้นิ้วกลับมาเหยียดตรง หรือต้องเหวี่ยงนิ้วอย่างแรงเพื่อให้คลายล็อค ซึ่งเมื่อคลายล็อคแล้วจะมีอาการเจ็บปวดตามมา
- ระยะที่ 4 : นิ้วล็อคค้างในท่างอหรือเหยียด ไม่สามารถขยับได้เลย แม้จะใช้มืออีกข้างช่วยก็ตาม
อาการนิ้วล็อครักษาอย่างไร?
การรักษานิ้วล็อคมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้
1. รักษาด้วยยาต้านการอักเสบ (NSAIDs)
ยาต้านการอักเสบจะช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบของเส้นเอ็น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะเริ่มต้น โดยแพทย์อาจจ่ายยารับประทานร่วมกับการทายาบริเวณที่มีอาการ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
2. รักษาด้วยการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์
การฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบ จะช่วยลดการอักเสบและบวมของเส้นเอ็นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อาการปวดและติดขัดดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการระยะที่ 2-3 ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ
3. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการนิ้วล็อคได้ดี โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคการรักษาหลายอย่างร่วมกัน เช่น การประคบร้อนเพื่อคลายกล้ามเนื้อ การนวดและยืดเส้นเอ็นด้วยเทคนิคบำบัดด้วยมือของนักกายภาพบำบัด การใช้เครื่องช็อคเวฟ หรือเครื่องกายภาพบำบัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS เพื่อลดการอักเสบและกระตุ้นการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งสอนท่าบริหารนิ้วมือที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
4. รักษาด้วยเครื่องดามนิ้ว
การใส่เครื่องดามนิ้วจะช่วยจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วที่มีอาการ ทำให้เส้นเอ็นได้พักและลดการอักเสบ แนะนำให้ใส่ขณะนอนหลับหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วมือน้อย โดยควรใส่ติดต่อกัน 4-6 สัปดาห์ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
5. รักษาด้วยการผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็น
การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงในระยะที่ 4 หรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น โดยแพทย์จะผ่าตัดเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนไหวได้สะดวก
แนะนำท่าบริหารคลายนิ้วล็อคด้วยตนเอง
การบริหารนิ้วมืออย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการนิ้วล็อคได้ ลองทำตามท่าต่อไปนี้
- ท่ากำและแบมือ : กำมือแน่น ๆ แล้วแบออกให้นิ้วเหยียดตรง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง
- ท่างอนิ้วทีละข้อ : งอนิ้วทีละข้อจากโคนนิ้วไปปลายนิ้ว แล้วค่อย ๆ เหยียดกลับ ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง
- ท่าบริหารข้อโคนนิ้ว : กางนิ้วออกให้กว้าง แล้วหุบเข้าหากัน ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง
- ท่านวดคลายเส้นเอ็น : ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างนวดบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการเบา ๆ
- ท่ายืดกล้ามเนื้อมือ : วางมือราบกับพื้น แล้วค่อย ๆ ยกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 15-20 วินาที
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
การป้องกันอาการนิ้วล็อค ทำได้ไม่ยากเลย แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานข้อมือและนิ้วมือให้เหมาะสม จัดสรรเวลามาออกกำลังกายให้ดี มีการบริหารข้อมือ น้ำมือบ่อย ๆ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนิ้วล็อคได้มากแล้ว ยกตัวอย่างเช่น
- หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- พักมือเป็นระยะระหว่างทำงาน อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
- ปรับท่าทางการทำงานให้ถูกต้อง
- ใช้อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง เช่น ที่รองข้อมือ เมาส์แบบการยศาสตร์
- ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและนิ้ว
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ดูแลสุขภาพ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหากเป็นเบาหวาน
สรุป นิ้วล็อค แก้ง่ายนิดเดียว แค่รู้สาเหตุและวิธีรักษาอย่างเหมาะสม
นิ้วล็อคเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้นิ้วมือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ตั้งแต่การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการจะช่วยให้หายได้เร็วและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
หากคุณมีอาการนิ้วล็อค ปวด หรือติดขัดเวลาใช้งานนิ้วมือ The Commons Clinic พร้อมดูแลและรักษาด้วยเทคนิคและเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ทั้งการบำบัดด้วยมือ การใช้เครื่องช็อคเวฟ และเครื่อง PMS โดยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำการดูแลตนเองที่บ้านเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ รับรองว่าจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด