รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) เกิดจากอะไร รักษาหายไหม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่กล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ อ่อนแรง ไปจนถึงการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย วันนี้ คลินิกกายภาพบำบัด เดอะคอมมอนส์คลินิก (The Commons Clinic) จะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้เข้าใจและรู้วิธีป้องกันดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องเอง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) คืออะไร

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือที่เรียกว่า “ALS” คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้รับคำสั่งในการเคลื่อนไหว เกิดการอ่อนแรงและฝ่อลีบในที่สุด โรคนี้มักพบในผู้ใหญ่วัยกลางคนถึงสูงอายุ และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก

ALS แตกต่างจาก Myasthenia Gravis อย่างไร

ALS แตกต่างจาก Myasthenia Gravis อย่างไร

ALS และ Myasthenia Gravis (MG) แม้จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ โดย ALS เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ ในขณะที่ MG เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่โจมตีจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้การส่งสัญญาณผิดปกติ อาการของ MG มักดีขึ้นหลังพักผ่อน แต่ ALS จะค่อย ๆ แย่ลงตามเวลา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พันธุกรรม : ประมาณ 5-10% ของผู้ป่วย ALS มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการ ทำให้เซลล์ประสาทเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน : ในกรณีของ Myasthenia Gravis ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ และสร้างแอนติบอดีมาทำลายตัวรับสัญญาณที่กล้ามเนื้อ ทำให้การส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อบกพร่อง
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : การสัมผัสสารพิษบางชนิด การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง หรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาจกระตุ้นให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาทได้เร็วขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อ่อนแรง ALS ได้

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการเป็นแบบไหน

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามเวลา โดยมีอาการดังนี้

  • กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง โดยเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งก่อน
  • หกล้มบ่อย เดินสะดุด หรือเดินลากขา
  • พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก
  • กล้ามเนื้อกระตุก หรือเป็นตะคริวบ่อย
  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลานอน
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อฝ่อลีบ โดยเฉพาะที่มือและแขน
  • อาการมักแย่ลงเมื่อออกแรงหรือทำกิจกรรมต่อเนื่อง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS รักษาหายไหม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS รักษาหายไหม

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ให้หายขาดได้ แต่มีการรักษาแบบประคับประคองเพื่อชะลอการดำเนินของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยแนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย ยกตัวอย่างเช่น การรักษาด้วยยาชะลอการเสื่อมของเซลล์ประสาท ยาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือยาลดการผลิตน้ำลาย ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ยังทำงานได้ และป้องกันข้อติดและกล้ามเนื้อหดรั้ง เป็นต้น

แนวทางการป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS

แม้จะไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างสมบูรณ์ แต่การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยง เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ และการพักผ่อนให้เพียงพอ หากสังเกตพบความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

สรุปบทความ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก ร่วมกับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยชะลอการดำเนินของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

The Commons Clinic พร้อมดูแลผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วยการทำกายภาพบำบัดที่ครบวงจร โดยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ เราใช้เครื่องมือที่ทันสมัยอย่างเครื่องช็อคเวฟและเครื่อง PMS ร่วมกับเทคนิคการบำบัดด้วยมือ พร้อมแนะนำท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อนัดหมายได้ทุกช่องทางเลย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

4/11/67 เวลา 23:30 น.