
เรื่องงงๆ ของอาการปวดหลังแต่ร้าวลงขา… ซึ่งหลายคนคงมีอาการปวดหลัง แต่บางครั้งก็มีอาการร้าวลงขาร่วมด้วย อาการปวดหลังที่ลามลงขามักเกิดจากอาการที่เรียกว่า “Sciatica” มักเกิดจากการกดทับ หรือการระคายเคืองของเส้นประสาทไขสันหลัง เพราะSciatica Nerve เป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดใน โดยากหลังส่วนล่าง ผ่านก้น และลงไปที่ขาแต่ละข้าง นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมปวดหลังทีไร ถึงร้าวลงขา
โดยทั่วไปแล้วอาการปวดหลังร้าวลงขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่ยกของหนัก คนที่นั่งทำงานนานๆ มนุษย์ออฟฟิศ อาการขป่วยในแต่ละเคสอาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริเวณของกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ โดยรวมแล้วผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา นั้น จะไม่สามารถยืนนาน เดินนาน นั่งนาน เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จะพามาหาสาเหตุขออาการปวดหลังร้าวลงขา และวิธีการรักษาว่าควรจะรักษาอย่างไรดี
Table of Contents
Toggleทำความรู้จักกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังกันก่อน
การรู้จักกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังนั้น ทำให้เรารู้ถึงความเชื่อมต่อของโครงสร้างกระดูก และรู้ที่มาที่ไปของปวดหลังร้างลงขาเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วกระดูกสันหลัง จะประกอบด้วย 33 ชิ้น โดยจะคั่นด้วย Spongy disks ซึ่งกระดูกสันหลังจะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
- กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical spine) : เป็นส่วนบนสุดของกระดูกสันหลังในกระดูกสันหลังของมนุษย์ ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 7 ชิ้น ที่เรียกว่า C1 ถึง C7
- กระดูกสันหลังที่ทรวงอก (Thoracic spine) : เป็นส่วนตรงกลางของกระดูกสันหลัง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอว (หลังส่วนล่าง) ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนอก 12 ชิ้น ที่เรียกว่า T1 ถึง T12
- กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine): หรือที่มักเรียกกันว่าหลังส่วนล่างคือส่วนล่างสุดของกระดูกสันหลังในมนุษย์ ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนเอว 5 ชิ้น ที่เรียกว่า L1 ถึง L5 และตั้งอยู่ใต้กระดูกสันหลังส่วนอกและเหนือกระดูกศักดิ์สิทธิ์ กระดูกสันหลังส่วนเอวมีบทบาทสำคัญในการรองรับ ความมั่นคง และความยืดหยุ่นของหลังส่วนล่างและกระดูกสันหลังทั้งหมด ลักษณะสำคัญและหน้าที่ของกระดูกสันหลังส่วนเอวมีดังนี้
- ส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral spine): เป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมซึ่งอยู่ที่ฐานของกระดูกสันหลัง ใต้กระดูกสันหลังส่วนเอว มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน และส่วนอื่นๆ ของร่างกายส่วนล่าง ประกอบด้วยกัน 5 ชิ้น ที่เรียกว่า S1 ถึง S5
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้
การปวดหลังที่ร้าวลงขา ส่วนใหญ่เกิดจากการตึง อักเสบที่ sciatic nerve โดยมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้ดังต่อไปนี้
1.การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ต้อง และต่อเนื่อง กันเป็นเวลานาน ทำให้เพิ่มความเครียดบนหลังส่วนล่างได้
2.การยกของหนักเกินไป หรือยกของผิดจังหวะก็ทำให้ปวดหลังร้าวลงขาได้เช่นกัน
3.การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา การบาดเจ็บต่างๆทำให้กล้ามเนื้อหลังเกิดอาการอักเสบได้
4.อุบัติเหตุ เช่น การล้มกระแทกพื้น การเกิดรอยบาดเจ็บจากการขับรถ, หรือการตกบันไดอาจสร้างการบาดเจ็บในหลังส่วนล่างได้
อาการของปวดหลังลงขามักจะประกอบด้วย
- อาการปวด และเจ็บบริเวณเส้นเอ็นที่ได้รับผลกระทบ
- บวม และร้อน อุ่นๆบริเวณที่เกิดการอักเสบ
- อาการปวดจะแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นที่ได้รับผลกระทบ
- มีอาการตึง และเคลื่อนไหวได้จำกัดในข้อต่อที่อยู่ติดกัน
แพทย์ทำการวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขาได้อย่างไร
การวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขามักจะเริ่มด้วยการประเมินอาการ สอบถามเกี่ยวกับประวัติการเจ็บปวดเพิ่มเติม และจากนั้นจะมีการวินิฉัยเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1.เอ็กซเรย์ เพื่อสามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคได้ถูกต้อง
2.CT scan เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพในแนวระนาบต่างๆ ของร่างกาย โดย CT scan จะแสดงภาพโดยละเอียดของส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงกระดูก และจะมีรายละเอียดมากกว่า X-rays ทั่วไป
3.MRI เป็นการทดสอบที่ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพรายละเอียดของอวัยวะ และโครงสร้างในร่างกาย
4.Electromyography (EMG) เพื่อทดสอบเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ และตรวจสอบ
แนวทางการรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขา
อาการปวดหลังร้าวลงขาจะดีขึ้นด้วยการพักผ่อน และยาแก้ปวด ห แต่ถ้ามีอาการหนัก และปวดหลังเรื้อรัง ก็จะรักษาตามอาการดังนี้
1.กายภาพบําบัด
แพทย์จะแนะนำให้นักกายภาพบำบัด ออกแบบท่าบริหารที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
2.การฉีด
แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่เกิดอาการปวด เช่น การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ
3.การผ่าตัด
การบาดเจ็บที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย เพื่อช่วยอาการปวดหลังส่วนล่างให้ดียิ่งขึ้น
4.รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS
หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว
5.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)
การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ดี?
อาการปวดหลังส่วนใหญ่ค่อยๆ ดีขึ้นด้วยการรักษาที่บ้าน และการดูแลด้วยตนเอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
- มีอาการนานกว่าสองสามสัปดาห์
- รุนแรง และไม่ดีขึ้นด้วยการพักผ่อน
- อ่อนแรง ชา หรือรู้สึกเสียวซ่าที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- ปวดอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง
- มีไข้ น้ําหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้
อาการปวดหลังร้าวลงขา มาพร้อมกับความเจ็บปวด การเคลื่อนไหวที่จํากัด และส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดร้าวลงขาได้โดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางการรักษาให้ดีขึ้น
หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับ ปวดหลังร้าวร้าวลงขาอยู่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย
The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด
ขอบคุณข้อมูลจาก : Hopkins medicine, Webmd