
พฤติกรรมการนั่งที่ไม่ถูกต้องในสถานที่ทำงาน หรือรวมถึงสถานที่อื่นๆด้วย มีผลต่อความเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เพราะเนื่องจากปัญหาระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกที่เกี่ยวข้องกับการนั่งเป็นเวลานาน ซึ่งการรู้เกี่ยวกับสาเหตุของรูปแบบการนั่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และแก้ไขปัญหาได้
รู้หรือไม่การนั่งเป็นเวลานานก็มีส่วนทําให้เกิดสภาวะสุขภาพจิต และร่างกาย ได้เช่นกัน เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้น เพื่อปรับปรุงสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี การเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งของผู้คนจึงเป็นสิ่งสําคัญ บทความนี้จะมาแนะนำเราควรปรับเปลี่ยพฤติกรรมการนั่งว่าควรทำอย่างไรดี
Table of Contents
Toggleความเครียดบนโต๊ะทำงานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร?
1.ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และกล้ามเนื้อ
การนั่งเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ท่าทางที่ไม่ดี และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดบ่า และปวดไหล่ ซึ่งมักเรียกกันว่า “ออฟฟิศซินโดรม”
2.น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การนั่งอยู่ประจำที่เดิมอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเป็นโรคอ้วนได้ เพราะขาดการออกกำลังกาย และการเผาผลาญที่ช้าลงอาจ ทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกาย
3.การเมตาบอลิซึม
การใช้ชีวิตแบบอยู่ประจำที่เดิมอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เพราะกล้ามเนื้อไม้ได้เกิดการทำงาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
4.สุขภาพจิต
พฤติกรรมการอยู่ประจำที่เชื่อมโยงกับความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น และลดความเครียดได้
5.มวลกล้ามเนื้อลดลง
การขาดการออกกำลังกายอาจส่งผลให้สูญเสียกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน และกิจกรรมประจำวัน
6.ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
การนั่งเป็นเวลานานอาจทำให้การย่อยอาหารช้าลง และส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ท้องผูก และอาหารไม่ย่อย
7.ปัญหาการไหลเวียนโลหิต
ในขณะที่นั่ง เลือดของคุณจะไหลเวียนในอัตราที่ช้ากว่าเมื่อยืน เมื่อการไหลเวียนของเลือดช้าลง กรดไขมันจะสะสมในหลอดเลือดแดงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่พบบ่อยของโรคหัวใจ ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลให้ข้อเท้าบวม ลิ่มเลือด ได้
ทำอย่างไรดีไม่ให้เป็นฮิตออฟฟิศซินโดรม
1.หยุดพัก
ถ้าเป็นไปได้ให้หยุดพักอย่างน้อยทุกชั่วโมง เพียงแค่ใช้เวลา 3- 5 ใช้ห้องน้ํา ชงกาแฟ ชงชา หยิบของว่าง ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายบ้าง
2.ใช้บันได
หากมีนิสัยชอบใช้ลิฟต์ ก็ถึงเวลาที่จะผสมมันเข้าด้วยกัน สลับการใช้ลิฟต์บ้าง บันไดบ้างเพื่อช่วยให้เลือดลมสูบฉีดเลือด และการขึ้นบันไดยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพในการใช้เวลาช่วงพักสั้นๆ
3.ขยับมือเพื่อบรรเทาความปวดตึง
ในขณะที่พิมพ์งานจะรู้สึกถึงความตึงเครียดที่กล้ามเนื้อมือหรือบางคนมีอาการเสียวซ่านที่บริเวณมือ และแขนร่วมด้วย แต่รู้หรือไม่ความเครียดดึงในขณะที่พิมพ์งานนั้นมีส่วนทำให้เกิดความตึงเครียดที่ไหล่ด้วย เพราะกล้ามเนื้อนั้นทำงานเชื่อมต่อกัน ดังนั้นความเครียดตึงของกล้ามเนื้อก็เชื่อมโยงไปที่อื่นๆของร่างกายได้เช่นกัน เพราะการที่คุณไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอื่นๆ ต้องชดเชยเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว จากนั้นกล้ามเนื้อเหล่านั้นจะทํางานหนักเกินไป และตึง
4.ลองใช้อุปกรณ์เสริมโต๊ะทํางาน
สร้างสรรค์ด้วยการออกกําลังกายในที่ทํางานโดยวางจักรยานอยู่กับที่ขนาดเล็ก หรือแม้แต่ลู่วิ่งไว้ใต้โต๊ะทํางาน ทั้งสองเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความกระฉับกระเฉงขณะทํางาน ซึ่งจะช่วยให้
ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมสําหรับออฟฟิศซินโดรม
- อายุ: การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอายุในกระดูกสันหลัง เช่น โรคข้ออักเสบ และแผ่นดิสก์ที่เสื่อมสภาพ เป็นปัจจัยเสี่ยงสําหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม
- โรคอ้วน: น้ําหนักส่วนเกินโดยเฉพาะในช่องท้องที่จะเพิ่มความเครียดตึงบนกระดูกสันหลัง
- ไลฟ์สไตล์: การนั่งเป็นเวลานาน และการใช้ชีวิตอยู่ประจําเป็นปัจจัยเสี่ยงสําหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม
แนวทางการรักษาทางการแพทย์สําหรับอาการออฟฟิศซินโดรม
คนส่วนใหญ่ที่ทรมานกับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ของออฟฟิศซินโดรม ซึ่งบางครั้งอาจหายได้เอง ด้วยยาครีทแก้ปวด แต่ถ้ามีอาการหนัก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ โดยสามารถรักษาอาการได้ดังต่อไ ปนี้
1.การทำกายภาพบําบัด
หากมีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือปวดคอ บ่า ไหล่ อยู่นานกว่า 2-3 สัปดาห์ และเริ่มมีการรบกวนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แพทย์อาจแนะนําให้เริ่มทำกายภาพบําบัดเพื่อลดความเจ็บปวด และปรับปรุงการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
2.รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS
หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว
3.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)
เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique) คือ การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
4.การทำกายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก หรือ เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave)
กายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก เป็นการส่งคลื่นกระแทกที่เกิดจากแรงอัดอากาศปริมาณสูงไปยังบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีก้อนกล้ามเนื้อ และพังผืดที่แข็งเกร็ง โดยคลื่นกระแทกจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ เกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นใหม่อีกครั้ง พร้อม ๆ กับลดปริมาณของสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณเจ็บปวด
5.การผ่าตัด
การผ่าตัดสงวนไว้สําหรับผู้ที่มีปัญหาโครงสร้างที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังอาจได้ผลสําหรับผู้ที่มีการกดทับของเส้นประสาทที่นําไปสู่ความอ่อนแอของกล้าม เนื้อ ที่นำไปสู่การจํากัดกิจกรรมในชีวิตประจําวัน และก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิต
หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับออฟฟิศซินโดรมอยู่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย
The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
ขอบคุณข้อมูลจาก : Medical xpress