เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมองข้ามเกี่ยวกับการยกของหนัก  การยกของหนักเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อที่หลังตึง เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อเสียหาย เป็นผลทำให้เกิดอาการเจ็บ เคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ หรืออาจนำไปสู่ หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ กระดูกสันหลังส่วนล่างเจ็บปวด ดังนั้นการไม่ระวังในการยกของหนักอาจทำให้เกิดการเอี้ยวตัวที่ผิดท่าผิดทาง การงอตัวมากเกินไป การยกหนักแบบเดิมซ้ำๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหลัง และอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด และการบาดเจ็บ เพราะการยืดกล้ามเนื้อที่มากเกินไป หรือทำซ้ำๆมากเกินไป หรือออกแรงมากเกินโดยไม่คำนึงถึงร่างกาย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ และเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ด้วย

คนส่วนใหญ่นั้น จะมีอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อตึง หรือฉีกขาดที่หลัง เพราะบริเณหลังจะมีกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่รองรับร่างกายส่วนบนของเรา เพื่อให้ความแข็งแรงในช่วยขยับคอ ไหล่ และแขน การทำกิจกรรมที่ดึง หรือรัด กล้ามเนื้อเกินไปนั้น อาจทําให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง และได้รับบาดเจ็บเฉียบอย่างฉับพลัน หรือการใช้กล้ามเนื้อหลังตึงที่เกิดจากการใช้มากเกินไปอาจทําให้เกิดอาการปวด และปวดเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อกิจกรรมประจําวันได้

ซึ่งการยกของหนักแบบผิดวิธีไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หลังเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น คอ บ่า ไหล่ รวมไปถึงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของเพศหญิงได้เช่นกัน บทความนี้จะแนะนำวิธียกของหนักอย่างถูกต้อง และวิธีการรักษาอาการของกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ

มาทำความรู้จักกับโรคกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบคืออะไร

กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ เกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป ทำให้มีลักษณะการอักเสบ หรือบวมของเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ การอักเสบนี้อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง ปวด เจ็บ และใช้งานกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดไม่ได้มาก ซึ่งอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนั้น เป็นอาการเริ่มต้นของการอักเสบเท่านั้น  การได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเราสามารถสังเกตได้จากกล้ามเนื้อที่ตึง ปวด ร้อนชา จากการออกกำลังกาย หรือ จาการทำงานหนัก ซึ่งอาการปวดเมื่อย ของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆแย่ลงเมื่อปล่อยผ่านไปหลายสัปดาห์ อาจจะส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ และสะโพก ปวดร่วมด้วย

กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบมีอาการบ่งชี้อะไรบ้าง?

สำหรับอาการต่างๆ ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ และสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

  • รู้สึกเสียวซ่าหรือชาที่หลัง แขน หรือขา
  • มีอาการบวมบริเวณบริเวณที่บาดเจ็บ
  • กล้ามเนื้อมีอาการเกร็งตัวขึ้นมาอย่างผิดปกติ
  • ไม่สามารถขยับหลังได้ปกติ
  • ก้มตัว แอ่นตัว หรือบิดตัว มีความรู้สึกเจ็บ และลำบาก
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ซึ่งบางครั้งอาจมาพร้อมกับไข้

แนะนำวิธีการยกของหนักจะได้ไม่เป็นภาระของหลัง

1.ประเมินน้ำหนักก่อน

ก่อนยกให้ประเมินน้ำหนัก และขนาดของวัตถุ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถจัดการได้ ด้วยตนเองหรือไม่ และตรวจสอบว่าต้องการใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงช่วยหรือไม่

2.ท่าทางที่เหมาะสมในการยก

แนะนำการยอกของที่เหมาะสม คือให้ยืนใกล้กับวัตถุโดยให้เท้าแยกจากกันประมาณช่วงไหล่เพื่อเป็นฐานที่มั่นคง งอสะโพก และเข่าแทนที่จะงอหลัง รักษาหลังให้ตรง และตั้งขึ้น

3.บริหารแกนกลางลำตัว

ก่อนยกของลองทำกายบริหารเพื่อเตรียมพร้อมให้กล้ามเนื้อหลังรองรับเป็นพิเศษ สิ่งนี้ทำให้แกนกลางลำตัวของมั่นคง พร้อมใช้งาน และช่วยหลีกเลี่ยงความเครียดตึงที่กระดูกสันหลังมากเกินไป

4.หลีกเลี่ยงการเอี้ยวตัว

พยายามอย่าบิดตัวขณะถือของหนัก ให้หมุนเท้าเพื่อเปลี่ยนทิศทางแทน

5.ใช้แรงกล้ามเนื้อขา

ยืดลำตัวขึ้นช้าๆโดยใช้แรงกล้ามเนื้อขาค่อยๆดันตัวขึ้น   และควรใช้กล้ามเนื้อหลังให้น้อยที่สุดในการยกของ

การวินิจฉัยอาการกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบเป็นอย่างไร?

การวินิจฉัยกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบมักจะเริ่มด้วยการประเมินอาการ สอบถามเกี่ยวกับประวัติการเจ็บปวดเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจะมีการวินิฉัยเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1.เอ็กซเรย์

เพื่อสามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคได้ถูกต้องบนภาพฟิล์ม

2.CT scan

การทดสอบภาพที่ใช้ X-rays และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพในแนวระนาบต่างๆ ของร่างกาย โดย CT scan จะแสดงภาพโดยละเอียดของส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงกระดูก และจะมีรายละเอียดมากกว่า X-rays ทั่วไป

3.MRI

เป็นการทดสอบที่ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพรายละเอียดของอวัยวะ และโครงสร้างในร่างกาย

4.Electromyography (EMG)

เพื่อทดสอบเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ และตรวจสอบ

แนวทางการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างมักจะดีขึ้นด้วยการพักผ่อน และยาแก้ปวด หลังจากพักผ่อน2 – 3 วัน สามารถ แต่ถ้ามีอาการหนัก และปวดหลังเรื้อรัง ก็จะรักษาตามอาการดังนี้

  • กายภาพบําบัด นักกายภาพบำบัดจะกำหนดท่าที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
  • การฉีดยา เช่น การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ
  • การผ่าตัดการบาดเจ็บที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย เพื่อช่วยอาการปวดหลังส่วนล่างให้ดียิ่งขึ้น
  • รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว
  • เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique) การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • การทำช็อคเวฟ (Shock Wave) เป็นการส่งคลื่นกระแทกที่เกิดจากแรงอัดอากาศปริมาณสูงไปยังบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง โดยคลื่นกระแทกจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ เกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นใหม่อีกครั้ง พร้อม ๆ กับลดปริมาณของสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณเจ็บปวด

กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ – ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

กล้ามเนื้อหลังที่หลังอักเสบอาการปวดหลังส่วนใหญ่ค่อยๆ ดีขึ้นด้วยการรักษาที่บ้าน และการดูแลด้วยตนเอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • มีอาการนานกว่าสองสามสัปดาห์
  • รุนแรง และไม่ดีขึ้นด้วยการพักผ่อน
  • อ่อนแรง ชา หรือรู้สึกเสียวซ่าที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ปวดอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง
  • มีไข้ น้ําหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้

อาการปวดหลังส่วนล่าง มาพร้อมกับความเจ็บปวด การเคลื่อนไหวที่จํากัด และส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังส่วนล่างได้โดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางการรักษาให้ดีขึ้น

เวลาพักฟื้นสําหรับกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ

เวลาในการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อที่หลังอักเสบขึ้นอยู่กับความเสียหายของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ แต่จะมีระยะเวลาพักฟื้นดังนี้

  • กล้ามเนื้อหลังตึงเล็กน้อยควรหายใน 2-3 สัปดาห์
  • มีอาการอย่างรุนแรง อาจใช้เวลาระหว่าง 2 ถึง 3 เดือนในการรักษาให้หายสนิท และปราศจากความเจ็บปวด
  • การฉีกขาดของกล้ามเนื้อที่หลังที่มีอาการรุนแรงนั้น อาจต้องผ่าตัดเพื่อยึดกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการของโรคปวดหลังส่วนล่างอย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

ขอบคุณข้อมูลจาก :  Healthyandnaturalworld, Verywellhealth

10/11/66 เวลา 07:19 น.