
ปวดหลังส่วนล่างอาจเกิดจากสาเหตุหลาย เช่น การท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน หรือการกระทำกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการยกของหนักๆ อาการปวดหลังช่วงล่างของผู้หญิง การนอนหลับในท่าที่ผิดท่า และหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ทับเส้นประสาท (herniated disk) ก็เป็นหนึ่งในอาการปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain)
Table of Contents
ToggleHerniated disk เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ตามแนวกระดูกสันหลัง แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บริเวณหลังส่วนล่าง บางครั้งเรียกว่าการโป่ง ยื่นออกมา หรือแตก ของ disk ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดหลังส่วนล่าง เช่นเดียวกับอาการปวดขา หรืออาการปวดตะโพก
ระหว่าง 60% ถึง 80% ของคนจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงหนึ่งของชีวิต คนเหล่านี้บางคนจะมีอาการปวดหลังส่วนล่าง และปวดขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่
ทำความรู้จักกับหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่
ปกติแล้วกระดูกสันหลังของจะประกอบด้วยกระดูก 24 ชิ้น เรียกว่ากระดูกสันหลัง เรียงซ้อนกันโดยกระดูกเหล่านี้จะเชื่อมต่อกันเพื่อการปกป้องไขสันหลัง การที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนเป็นอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกอ่อนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเมือกใสคล้ายๆกับคล้ายเยลลี่ อ่อนหนุ่ม และมีความยืดหยุ่นสูง คั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ซึ่งหมอนรองกระดูกนั้นจะทำหน้าคือ ให้การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และมีหน้าที่รับน้ำหนักที่ผ่านกระดูกสันหลังลงมา แต่เมื่อกระดูกสันหลังเกิดอาการกระทบกระเทือนมากเกินไป หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็ทำให้เมือกใสๆนั้นเกิดการฉีกขาด และมีการเคลื่อนที่ออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างนั้นเอง
หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ มีอาการเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกเคลื่อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวรหลังส่วนล่าง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ที่คอเช่นกัน อาการขึ้นอยู่กับตําแหน่งที่หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทหรือไม่ โดยมักส่งผลกระทบต่อด้านหนึ่งของร่างกายดังต่อไปนี้
1.ความเจ็บปวด
หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่ที่หลังส่วนล่าง โดยปกติจะรู้สึกปวดหลังส่วนล่าง ก้น ต้นขา และน่อง ซึ่งอาจมีอาการปวดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าได้เช่นกัน หากเป็นที่คออาจทำให้ปวดที่แขนหรือไหล่ได้ แต่อาการปวดนี้อาจลามที่แขนหรือขาเมื่อไอ จาม หรือขยับไปในบางตําแหน่ง ความเจ็บปวดมักมีลักษณะ แสบร้อน หรือชา
2.อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่า
อาจรู้สึกชาหรือรู้สึกเสียวซ่าในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่คออาจทำให้รู้สึกเสียวซ่าที่แขนหรือมือได้ หรือถ้าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่หลังส่วนล่าง อาจทำให้รู้สึกเสียวซ่าที่สะโพก หรือร้าวลงขาได้
3.กล้ามเนื้ออ่อนแรง
กล้ามเนื้อที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีแนวโน้มที่จะอ่อนแอลง ซึ่งอาจทำให้มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การยกของ หรือนั่งนานๆ อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเร็วยิ่งขึ้น บางรายเป็นมากถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้นเดินลำบาก
ปัจจัยที่อาจทําให้หมอนรอกระดูกเคลื่นที่
- อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้
- สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดปริมาณออกซิเจนไปข้อต่อของกระดูกต่างๆ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
- พันธุกรรม ซึ่งบางคนอาจได้รับสืบทอดมาจากพันธุกรรม
- ยกของหนัก นอกจากไม่ควรยกของหนักนานๆ ซ้ำๆแล้ว ควรยกของในลักษณะที่ถูกต้องด้วย
- น้ําหนักตัวมากเกินไป ควรมีน้ำหนักตัวที่ได้เกณฑ์มาตรฐานเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ
- การใช้งานซ้ำๆ เช่น การทํางาน กีฬา หรืองานอดิเรก
- อาชีพ ผู้ที่มีงานที่ต้องใช้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหลังปวดหลังส่วนล่างมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
การป้องกัน
การป้องกันหมอนรองกระดูกเคลื่อน แนะนำให้ทําดังต่อไปนี้:
- ออกกําลังกาย เป็นการช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อลําตัวให้คงที่ เพื่อรองรับกับกระดูกสันหลัง
- รักษาท่าทางที่ถูกต้อง การรักษาท่าท่างที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะ นั่ง นอน หรือเดิน จะช่วยลดแรงกดบนกระดูกสันหลัง และ disk เชื่อมต่อกระดูกสันหลัง ควรทำให้หลังตรง และอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนั่งเป็นเวลานาน ยกของหนัก ต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสม ลงที่ขาไม่ใช่ลงที่หลังเป็นส่วนใหญ่
- รักษาน้ําหนักให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน น้ําหนักที่มากเกินไปจะกดดันกระดูกสันหลัง และ disk ทําให้เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่นที่ได้
- เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบใดๆ
อะไรที่ไม่ควรทำเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง
ถ้ามีอาการปวดหลังส่วนล่าง ไม่ควรนั่งลงบนพื้น เพราะจะทำให้น้ำหนักกดตามแนวกระดูกสันหลัง ถ้านั่งลงบนเก้าอี้ควรใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงที่ถูกต้อง และไม่ควรนอนคว่ำด้วยเพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น และมีความเจ็บปวดมากกว่าเดิม
แนวทางการรักษาสำหรับหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ เมื่อไปพบแพทย์
1.กายภาพบําบัด
แพทย์จะแนะนำการทำกายภาพบำบัดจะกำหนดท่าที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
2.การฉีด
แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่เกิดอาการปวด เช่น การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ
3.การผ่าตัด
การบาดเจ็บที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย เพื่อช่วยอาการปวดหลังส่วนล่างให้ดียิ่งขึ้น
4.รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS
หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว
5.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)
เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique) คือ การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
6.การทำกายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก หรือ เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave)
กายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก เป็นการส่งคลื่นกระแทกที่เกิดจากแรงอัดอากาศปริมาณสูงไปยังบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีก้อนกล้ามเนื้อ และพังผืดที่แข็งเกร็ง โดยคลื่นกระแทกจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ เกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นใหม่อีกครั้ง พร้อม ๆ กับลดปริมาณของสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณเจ็บปวด
หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย
The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด
ขอบคุณข้อมูลจาก : Mayoclinic, My.cleveland clinic, Orthoinfo