ปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว มีวิธีแก้ไขยังไง อาการปวดแบบไหนที่อันตราย

“ปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน มีทั้งสาเหตุที่พบได้ทั่วไป ไม่เป็นอันตราย และสาเหตุที่เป็นอันตราย ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ แล้วจะต้องรับมือกับอาการปวดหัวท้ายทอยอย่างไร The Commons Clinic คลินิกกายภาพบำบัด ได้สรุปข้อมูลที่ควรรู้มาให้แล้ว อ่านได้ที่บทความนี้เลย

ปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

อาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย และสาเหตุที่เป็นอันตราย การทำความเข้าใจสาเหตุของอาการปวดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับอาการได้อย่างเหมาะสม และรู้ว่าเมื่อไหร่ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง 

ตัวอย่างสาเหตุอาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว

  • กล้ามเนื้อคอและไหล่ตึงตัว : เกิดจากการทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งก้มหน้าทำงานนานๆ หรือเงยหน้านานๆ ทำให้เกิดความรู้สึกเมื่อยล้า
  • ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ : ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะและต้นคอ
  • อิริยาบถไม่เหมาะสม : เช่น นอนหมอนสูงเกินไป หรือนั่งดูทีวีในท่าที่ไม่ถูกต้อง
  • ภาวะไมเกรน : ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงข้างเดียวหรือสองข้าง บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • การบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ : เช่น จากอุบัติเหตุ หรือการกระแทกรุนแรง
  • โรคข้อต่อเสื่อม โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลังผิดรูป : พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้มีอาการปวดและการเคลื่อนไหวของคอจำกัด
  • ความผิดปกติของหมอนรองกระดูก : อาจกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปยังศีรษะและแขน

อาการปวดหัวท้ายทอย ปวดต้นคอ แบบไหนที่อันตราย

อาการปวดหัวท้ายทอย ปวดต้นคอ แบบไหนที่อันตราย

ถ้าหากมีอาการปวดต้นคอปวดท้ายทอยเหล่านี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม

  • อาการปวดรุนแรงเฉียบพลัน โดยเฉพาะหลังได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
  • ปวดต้นคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง และปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีอาการอ่อนแรงของแขนหรือขา ชา หรือรู้สึกเสียวแปลบร่วมด้วย
  • มีอาการปวดร้าวลงขา สะโพก น่อง หรือเท้าร่วมด้วย
  • ปวดร่วมกับมีอาการผิดปกติของการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน
  • อาการปวดที่รบกวนการนอนหลับหรือทำกิจวัตรประจำวัน
  • ปวดต้นคอร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง
  • อาการปวดที่เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์โดยไม่ทุเลา แม้ได้รับการรักษาด้วยตนเองแล้ว

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรง เช่น  หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อน การติดเชื้อ เนื้องอก หรือโรคทางระบบประสาท ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด

วิธีแก้อาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว

มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดต้นคอ ท้ายทอย และปวดหัวได้ โดยเริ่มจากวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ไปจนถึงการรักษาที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ มีรายละเอียดดังนี้

1. ทำท่าบริหารแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

การทำท่าบริหารเป็นวิธีที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและเอ็น ทำให้การเคลื่อนไหวของคอและไหล่ดีขึ้นด้วย 

ตัวอย่างท่าบริหารแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

  • ท่าหมุนคอ : หมุนคอช้าๆ เป็นวงกลม 5 รอบตามเข็มนาฬิกา และ 5 รอบทวนเข็มนาฬิกา
  • ท่ายืดคอด้านข้าง : เอียงศีรษะไปทางซ้าย ใช้มือซ้ายช่วยดึงศีรษะเบาๆ ค้างไว้ 15 วินาที ทำสลับข้าง
  • ท่ายกไหล่ : ยกไหล่ขึ้นสูงช้าๆ ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

2. ประคบร้อน ประคบเย็น

การประคบร้อน ประคบเย็น เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดต้นคอท้ายทอย โดยการประคบร้อนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และลดอาการปวดได้ดี โดยเฉพาะในกรณีที่ปวดเรื้อรังหรือกล้ามเนื้อตึง วิธีทำคือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณที่ปวด 15-20 นาที ในขณะที่

ส่วนการประคบเย็นจะเหมาะสำหรับอาการปวดเฉียบพลันหรือมีการอักเสบ เพราะช่วยลดการบวมและอาการปวดได้ โดยให้ใช้ถุงน้ำแข็ง หรือผ้าเย็นประคบบริเวณที่มีอาการปวด 10-15 นาที

วิธีแก้อาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว 1

3. นวดเบา ๆ บริเวณที่มีอาการปวด

การนวดสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด เพิ่มการไหลเวียนเลือด และบรรเทาอาการปวดได้ดี โดยเฉพาะในกรณีที่ปวดจากการทำงาน หรืออิริยาบถไม่เหมาะสม โดยให้นวด  5-10 นาทีต่อครั้ง และทำเป็นประจำเพื่อผลลัพธ์ที่ดีสุด มีวิธีนวดดังนี้

  • ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดเบาๆ บริเวณต้นคอและท้ายทอย
  • นวดวนเป็นวงกลมเล็กๆ เน้นจุดที่รู้สึกตึงหรือปวด
  • ค่อยๆ เพิ่มแรงกดตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรกดแรงจนเจ็บ

4. รับประทานยาบรรเทาอาการปวด

ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง การใช้ยาแก้ปวดอาจช่วยบรรเทาอาการได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อย่าง ไอบูโพรเฟน ที่ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารและตับได้

วิธีแก้อาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว 2

5. ทำกายภาพภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดต้นคอและหัว โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจประเมินอาการและวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อผลการรักษาที่สุด ยกตัวอย่างเช่น 

  • การสอนท่าบริหารและยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสม : เพื่อลดอาการตึงและยึดของกล้ามเนื้อ รวมถึงให้ผู้มีอาการปวดนำไปปรับใช้ในการดูแลตนเอง เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ช่วยลดอาการปวดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างเห็นผล
  • ใช้เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique) : เป็นวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดหลัง โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้มือในการปรับโครงสร้างกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงเครียดและเพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ลดการอักเสบ และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้
  • ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด : เพื่อบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว และช่วยให้ฟื้นตัวได้ไวขึ้น เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shock wave) ที่สามารถช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำกายภาพบำบัดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ที่สามารถช่วยลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ พร้อมฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาท เป็นตัน

ปวดท้ายทอย มึนหัว ตาพร่า อันตรายไหม รับมืออย่างไร?

สำหรับใครที่มีอาการปวดท้ายทอย ปวดศีรษะตุบๆ ร่วมกับอาการมึนหัว ตาพร่า ใจสั่น ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ นอนไม่หลับ มือเท้าชา นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม แนะนำให้นั่งพักจนกว่าอาการจะดีขึ้น ป้องกันการหน้ามืดจนได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจได้

ปวดต้นคอ ปวดหัว ปวดกระบอกตา เกิดจากอะไร

ปวดต้นคอ ปวดหัว ปวดกระบอกตา เกิดจากอะไร ต้องรับมืออย่างไร?

อาการปวดหัวปวดตาเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดของกล้ามเนื้อ ไมเกรน อาการกล้ามเนื้อตาล้า สายตาผิดปกติ หรือในกรณีที่รุนแรง อาจเป็นสัญญาณของต้อหินเฉียบพลัน โดยทั่วไปแล้ว ถ้าอาการปวดไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และหายไปหลังจากพักผ่อน ก็ไม่น่ากังวลมากนัก แต่ถ้ามีอาการบ่อยๆ ปวดหัวปวดตาเรื้อรัง หรืออาการรุนแรงขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมจะดีที่สุด

สรุปบทความปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว

อาการปวดต้นคอ ท้ายทอย และปวดหัว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน สาเหตุมีตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างอิริยาบถไม่เหมาะสม ไปจนถึงโรคร้ายแรงที่ต้องรีบรักษา การรู้จักสังเกตอาการ และเข้าใจวิธีการรับมือเบื้องต้น จะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริหารร่างกาย หรือการรักษาด้วยวิธีต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรงหรือผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

สำหรับใครที่มีอาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหัว หรือมีอาการปวดอื่นๆ อย่างปวดหลังเรื้อรัง ปวดออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดคอ บ่า ไหล่ อยู่ สามารถนัดหมายเข้ามาตรวจสุขภาพร่างกาย และทำกายภาพบำบัด ที่ The Commons Clinic ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มั่นใจเลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

25/08/67 เวลา 00:30 น.