ตื่นเช้ามาพร้อมกับอาการปวดหลังส่วนล่างทุกเช้าหรือไม่? การที่ปวดหลังส่วนล่างส่วนใหญ่มักมาจไลฟ์สไตล์การทำงาน เช่นการนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ขยับไปไหน การยกของหนัก หรือเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่างนั้น จะมีแนวโน้มเกิดได้มากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น การใช้ชีวิตอยู่ประจํา โภชนาการที่ไม่ดี โรคอ้วน และความเครียด ดังนั้นแล้ว “การปรับไลฟ์สไตล์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง” ได้เป็นอย่างดี

เมื่อพูดถึงการบรรเทาอาการปวดหลัง อาจเคยได้ยินคําแนะนําทั่วไปของการรักษา เมื่อปพบแพทย์เกี่ยวกับการ ผ่าตัด กายภาพบำบัด การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย เพราะการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง ต้องพิจารณาอาการต่างๆ

อะไรทําให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง?

อายุมักเป็นตัวการที่สำคัญ เมื่อเวลาผ่านไป กระดูก และข้อต่อในหลังส่วนล่างจะเริ่มเปลี่ยนไป discs (โครงสร้างที่ทําหน้าที่เป็นหมอนรองระหว่างกระดูกในกระดูกสันหลัง) มักจะเสื่อมสภาพ ลงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเหล่านี้บางครั้งทําให้เกิดความเจ็บปวด

อีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังส่วนล่าง แม้ว่าจะเกิดขึ้นน้อยกว่า ก็คือหมอนรองกระดูกเคลื่อน บางครั้ง discs จะดันออกนอกช่องว่างระหว่างกระดูก และทำให้เกิดการบีบอัดเส้นประสาท ณ จุดที่แตกแขนกออกจากไขสันหลัง เมื่อเส้นประสาทที่เข้าสู่ก้น และขาก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาการปวดจะเรียกว่าอาการปวดตะโพก

ส่วนในกรณีที่อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดจากความเครียด หรือเคล็ดขัดยอกเนื่องจากการใช้ที่มากเกินไป กิจกรรมที่มากเกินไป การยกของที่มากเกินไป หรืออุบัติเหตุ ในกรณีส่วนใหญ่ วิธีที่ดีที่สุดคือการรอดูว่าความเจ็บปวดจะหายเองหรือไม่ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 3 ถึง 4 วัน ก็ครนไปพบแพทย์

วิธีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง

การจัดการกับไลฟ์สไตล์เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงต่อาการปวดหลังส่วนล่าง และนี้คือวิธีจัดการกับอาการปวดหลังส่วนล่างดังต่อไปนี้

1.ปรับวิธีการนั่ง และยืน

การนั่ง และยืนควรทำลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง โดยควรพยายามทำให้หลังตรงอยู่เสมอ ไหล่ผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงการงอหลัง

2.ออกกำลังกายเป็นประจำ

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้วยการออกกำลังกาย เช่น โยคะ พิลาทิส หรือการออกกำลังกายเฉพาะส่วนหลังสามารถช่วยพยุงกระดูกสันหลัง และลดอาการปวดได้

3.เปลี่ยนท่านั่งอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับคนที่นั่งทำงานนานๆ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด หากนั่งในท่าเดียวกันนานเกินไป อาจเริ่มรู้สึกไม่สบายตัว ลองเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 1-2 ชั่วโมง  ซึ่งจะช่วยป้องกันการงอของกล้ามเนื้อ และอาการเมื่อย นอกจากนี้ไม่ควรนั่งบนขอบที่นั่ง และเปลี่ยนมุมที่นั่งเป็นระยะๆ ด้วย

4.การนอนพักผ่อน

เมื่อเกิดอาการปวดหลัง การรักษาอาการปวดหลังที่ดีคือ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการปวดหรือรุนแรง ในขณะที่นั่งหรือยืน แต่การนอนพักผ่อนก็ไม่ควรเกิน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน

5.สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

ปรับพื้นที่ทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าโต๊ะ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์มีลักษณะตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อลดความตึงเครียดที่หลัง

6.พักสายตาจากหน้าจอ

ทุกๆ 1 ชั่วโมง เช่นกระพริบตาอย่างรวดเร็ว หรือหลับตา เพียง 5 นาที ก็จะช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา และความแห้งของดวงตาได้ หรือถ้าเป็นไปได้ให้ละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และรับแสงสว่างจากธรรมชาติ นอกจากนี้ควรจัดแสงสว่างในพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม เพื่อลดอาการตาอ้อนล้า และแห้ง

6.ใช้ที่นอน และหมอนที่เหมาะสม

การใช้ที่นอนที่ถูกต้องจะช่วยรักษาส่วนโค้งตามธรรมชาติของสรีระร่างกายที่เหมาะสม การใช้หมอนที่เหมาสมจะช่วยให้รองรับกับแนวโค้งของคอตามธรรมชาติอีกด้วย

7.ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ดี

เช่น รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปอาจทำให้หลังมีผลกระทบต่อหลังได้ หรือควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้เลือดไหลเวียนไปที่กระดูกสันหลังน้อยลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาหลัง

ประเภทของอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามระยะเวลาที่เกิดขึ้น

1.อาการปวดหลังเฉียบพลัน (Acute Back Pain)

อาการปวดหลังประเภทนี้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ ส่วนมากมักเกิดจากการบาดเจ็บ อุบัติเหตุ ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อาการปวดหลังเฉียบพลันมักจะดีขึ้นเมื่อทำการพักผ่อน การเยียวยาที่บ้าน เช่น การบำบัดด้วยน้ำแข็ง หรือความร้อน และการใช้ยาแก้ปวด

2.อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain)

อาการปวดหลังประเภทนี้เกิดขึ้นได้นานกว่าอาการปวดเฉียบพลัน แต่โดยทั่วไปจะหายภายใน  6 สัปดาห์ อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บเบื้องต้นที่ยังคงทำให้รู้สึกไม่สบายหรืออาจเนื่องมาจากกระบวนการรักษา การรักษามักเกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการความเจ็บปวด การออกกำลังกาย และการกายภาพบำบัดผสมผสานกัน

3.อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic Back Pain)

เมื่อมีอาการปวดหลังเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ ถือว่าเป็นอาการปวดหลังเรื้อรัง โดยอาการปวดหลังเรื้อรังอาจเกิดจากการบาดเจ็บต่างๆ หรือปัญหาทางโครงสร้างของกระดูกสันหลัง การจัดการอาการปวดหลังเรื้อรังมักต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุม ทั้งการรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และบางครั้งอาจต้องใช้วิธีแก้ไข เช่น การฉีดยา หรือการผ่าตัด

การทำการบําบัดเสริมเพื่อช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง

การทำการบําบัดเสริมหลายประเภทอาจเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง เช่น

  • การฝังเข็ม ซึ่งนักบําบัดจะสอดเข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เข้าไปในจุดต่างๆในร่างกายเพื่อทำให้พลังงาน และอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
  • การจัดการกระดูกสันหลัง โดยหมอนวดจะใช้แรงกดโดยตรงกับร่างกายเพื่อแก้ไข และจัดตําแหน่งกระดูกให้ถูกต้อง
  • นวดบําบัด เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย
  • การบําบัดด้วยการเคลื่อนไหว เช่น โยคะ และไทเก็ก ซึ่งสามารถช่วยยืด และเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังได้เป็นอย่างดี
    การบําบัดด้วยความเย็น และความร้อน เช่นการใช้ประคบเย็น หรือถุงน้ำร้อน

หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับอาการปวดหลังส่วนล่างอยู่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

ขอบคุณข้อมูลจาก : Realsimple

3/12/66 เวลา 07:12 น.