อาการปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain) จะทำให้จํากัดการเคลื่อนไหว และทำให้รบกวนการชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในทุกช่วงอายุ อาการปวดหลังส่วนล่างอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บมากมาย ส่วนใหญ่มักเป็นการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่หลัง ความเจ็บปวดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง แต่ในบางกรณี ความเจ็บปวดอาจทําให้เดิน นอนหลับ ทํางาน หรือทํากิจกรรมประจําวันได้ยากลำบาก

โดยปกติแล้วอาการปวดหลังส่วนล่างจะดีขึ้นด้วยการพักผ่อน ทานยาแก้ปวด กายภาพบําบัด การฉีดคอร์ติโซน และการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถแบ่งอาการปวดหลังส่วนล่างได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1.ปวดหลังอย่างเฉียบพลัน (Acute low back pain)

หมายถึงอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่วันก็ หรือมากสุด 6 สัปดาห์ก็สามารถหายได้เอง ซึ่งการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน (Acute low back pain)  นั้นสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายสาเหตุ เช่น การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติอย่างรวจเร็ว การยกของหนักที่ผิดท่าผิดทาง ทำให้ข้อต่อของกระดูกสันหลัง เส้นเอ็น หรือเนื้อเยื่อของกระดูกสันหลังอักเสบ

อาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน อาจมีลักษณะอาการที่เจ็บมากๆ จนทำให้เคลื่อนไหวช้าลง เมื่อขยับหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อหลัง เช่น การงอตัว การโน้มตัว หรือ ยกของหนัก มักเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาจทำให้ลามไปยังสะโพก หรือขา และบางครั้งก็มีอาการร้อน ชา หรือบวมในบริเวณที่ปวด

2.ปวดหลังแบบเรื้อรัง (Chronic low back pain)

หมายถึงอาการปวดหลังส่วนล่างที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งอาจมีอาการปวดเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดที่ธรรมดา และมีอาการปวดมากไปจนถึงปวดอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นซ้ำๆ ในระยะเวลาที่ยาวนาน การปวดหลังแบบเรื้อรัง (chronic low back pain) นั้นสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการยืน นอน อาชีพในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการปวดหลังแบบเรื้อรัง อาจมีลักษณะอาการที่เจ็บมากๆ หรือเจ็บเป็นระยะๆ มักมีอาการปวดหลังส่วนล่าง และร้าวลงสะโพก ลามไปถึงบริเวณขา ร้อน ชา ตามบริเวณที่ปวดต่างๆ ซึ่งการรักษานั้นจะต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลายาวนาน และเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา  

อะไรทําให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง?

อาการของอาการปวดหลังส่วนล่างอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือค่อยๆ ปรากฏขึ้น ในบางครั้ง ความเจ็บปวดจะเกิดขึ้นหลังจากในเหตุการณ์ต่างๆ หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การงอหลังเพื่อหยิบอะไรบางอย่าง การเอี้ยวหลังที่ผิดที่ ผิดทาง ซึ่งบางครั้งก็อาจได้ยินเสียงดัง “ป๊อป” เกิดขึ้น ซึ่งความเจ็บปวดมักจะแย่ลงในการเคลื่อนไหว (เช่น การก้มตัว) และดีขึ้นเมื่อนอนลง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในการปวดหลังส่วนล่างได้แก่

1.กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle Strain)

การยืดกล้ามเนื้อ  หรือการฉีกขาดเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวที่กะทันหัน เช่น การยกของหนัก การใช้มากเกินไป หรือการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้

2.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Discs)

หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกระหว่างกระดูกสันหลัง ซึ่งระหว่างชิ้นของข้อต่อกระดูกสันหลังนั้นจะมีสารลักษณะคล้ายเจลอยู่ภายใน ถูกห้อหุ้มด้วยวงแหวนที่หนา ประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อคอลลาเจนที่ซ้อนๆกันเป็นชั้นๆ  ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะประกอบกันเป็นหมอนรองกระดูก ซึ่งทำหน้าที่ในการยึดกระดูกเข้าด้วยกัน ทำหน้าที่เป็นเบาะรับแรงกระเเทกระหว่างชิ้นกระดูก ซึ่งถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพจะทำให้โปร่งตัวออก หรือเกิดการฉีดขาด ส่งผลให้ เกิดภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ในที่สุด

3.โรคข้ออักเสบ (Arthritis)

โรคข้ออักเสบอาจส่งผลต่อการปวดหลังส่วนล่าง เพราะทำให้เกิดอาการปวด ตึง และบวม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้เช่นกัน

4.ความผิดปกติของโครงกระดูก

ทำให้เกิดภาวะต่างๆได้ง่าย เช่น โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งกระดูกสันหลังโค้งงออย่างผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

5.โรคกระดูกพรุน

ภาวะนี้จะทำให้กระดูกอ่อนแอลง ส่งผลให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระดูกที่กระดูกสันหลังด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

6.อาการเคล็ดขัดยอก

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันหรือการออกแรงมากเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้อหลัง และเส้นเอ็นตึง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง

8.ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์

การมีน้ำหนักเกิน ใช้ชีวิตแบบอยู่ประจำที่ ขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

 

การวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอย่างไร?

การวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างมักจะเริ่มด้วยการประเมินอาการ สอบถามเกี่ยวกับประวัติการเจ็บปวดเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจะมีการวินิฉัยเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1.เอ็กซเรย์ เพื่อสามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคได้ถูกต้องบนภาพฟิล์ม

2.CT scan การทดสอบภาพที่ใช้ X-rays และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพในแนวระนาบต่างๆ ของร่างกาย โดย CT scan จะแสดงภาพโดยละเอียดของส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงกระดูก และจะมีรายละเอียดมากกว่า X-rays ทั่วไป

3.MRI เป็นการทดสอบที่ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพรายละเอียดของอวัยวะ และโครงสร้างในร่างกาย

 

4.Electromyography (EMG) เพื่อทดสอบเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ และตรวจสอบ 

 

แนวทางการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างมักจะดีขึ้นด้วยการพักผ่อน และยาแก้ปวด หลังจากพักผ่อนสองสามวัน สามารถ แต่ถ้ามีอาการหนัก และปวดหลังเรื้อรัง ก็จะรักษาตามอาการดังนี้

1.กายภาพบําบัด

แพทย์จะแนะนำการทำกายภาพบำบัดจะกำหนดท่าที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

2.การฉีด 

แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่เกิดอาการปวด เช่น การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ

3.การผ่าตัด

การบาดเจ็บที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย เพื่อช่วยอาการปวดหลังส่วนล่างให้ดียิ่งขึ้น 

4.รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS

หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

อาการปวดหลังส่วนใหญ่ค่อยๆ ดีขึ้นด้วยการรักษาที่บ้าน และการดูแลด้วยตนเอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

  • มีอาการนานกว่าสองสามสัปดาห์
  • รุนแรง และไม่ดีขึ้นด้วยการพักผ่อน
  • อ่อนแรง ชา หรือรู้สึกเสียวซ่าที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ปวดอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง
  • มีไข้ น้ําหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้

อาการปวดหลังส่วนล่าง มาพร้อมกับความเจ็บปวด การเคลื่อนไหวที่จํากัด และส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังส่วนล่างได้โดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางการรักษาให้ดีขึ้น

 

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการของโรคปวดหลังส่วนล่างอย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

ขอบคุณข้อมูลจาก :  Healthyandnaturalworld, Verywellhealth

 

6/11/66 เวลา 22:42 น.