ภาวะข้อไหล่ติดหรือ “Frozen Shoulder” เป็นภาวะที่เกิดจากอักเสบของข้อไหล่ ซึ่งทำให้เกิดอาการข้อไหล่มีความยึดติดกัน และเคลื่อนไหวไม่สะดวก และเคลื่อนไหวลดลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมักเกิดอาการปวดที่ข้อไหล่ทำให้เคลื่อนไหว  และกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยมีปัญหา อาการข้อไหล่ติดมักเกิดในช่วงที่อายุมากขึ้น และมักเป็นเกิดโดยไม่รู้สาเหตุ แต่บางกรณีอาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บหรือโรคอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อไหล่

อาการข้อไหล่ติด(Frozen Shoulder) คืออะไร?

เป็นภาวะที่เกิดจากอักเสบหรือการอักเสบของข้อไหล่ เมื่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบข้อต่อที่ไหล่ (เรียกว่าแคปซูลข้อต่อไหล่ shoulder joint capsule) มีลักษณะหนา แข็ง และอักเสบ แคปซูลข้อต่อไหล่ประกอบด้วยเอ็นที่ยึดส่วนบนของกระดูกต้นแขน (humeral head)  เข้ากับเบ้าไหล่ โดยยึดข้อต่อให้เข้าที่อย่างแน่นหนา 

ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชาย และหญิง แต่มักพบมากขึ้นในผู้หญิงที่อายุระหว่าง 40-60 ปี โดยมักเกิดโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน เฉพาะในบางราย ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการข้อไหล่มีความยึดติด และเคลื่อนไหวได้ช้า ลดลงอย่างมาก โดยอาจจะมีปวดที่ข้อไหล่ และความยืดหยุ่นของข้อไหล่ลดลง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการไหล่ติด (Frozen Shoulder)

1.ข้อไหล่ติดที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป

การใช้งานหรือการให้แรงกดบนข้อไหล่เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นสาเหตุที่สำคัญในการเกิดภาวะข้อไหล่ติด เช่น การทำงานหนัก การเล่นกีฬา หรือกิจกรรมต่างๆ

2.ข้อไหล่ติดที่เกิดจากการบาดเจ็บ

การบาดเจ็บที่ข้อไหล่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือการอักเสบในข้อไหล่ เป็นเหตุที่สามารถทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติด

3.อาการที่ทำให้เกิดอักเสบ

โรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ (Rheumatoid Arthritis) หรือโรคเอดส์ อาจทำให้เกิดอักเสบหรือการอักเสบของข้อไหล่

4.อายุ และเพศ

ภาวะข้อไหล่ติดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ถึง 60 ปี โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้อไหล่ติดมากกว่าผู้ชาย

4.ปัจจัยของฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ความผันผวนของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการข้อไหล่ติด โดยเฉพาะในผู้หญิง

ระยะของอาการข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

โดยทั่วไปอาการอาการไหล่ติดเหล่านี้จะปรากฏใน 4 ระยะภายในเวลาประมาณ 24 เดือน

ระยะที่ 1 เดือนที่ 1-3: ปวดไหล่ มักมีอาการแย่ลงในเวลากลางคืน ซึ่งทำให้จำกัดการเคลื่อนไหวของแขน

ระยะที่ 2 เดือนที่ 4-9: ระยะ “freezing” เป็นอาการตึงอย่างต่อเนื่อง โดยที่อาการปวดยังคงอยู่ (แม้ว่าอาจบรรเทาลง) แต่คุณจะรู้สึกว่าความสามารถในการขยับไหล่อย่างเหมาะสมลดลง

ระยะที่ 3 เดือนที่ 10-14: ระยะ “frozen” โดยที่ไหล่แข็งแต่ไม่เจ็บอีกต่อไปเมื่อไม่ขยับ

ระยะที่ 4 เดือนที่ 15-24: ระยะ “thawing” ซึ่งความสามารถในการขยับไหล่จะค่อยๆ กลับมา

การวินิจฉัยอาการข้อไหล่ติดเป็นอย่างไร?

ในการวินิจฉัยอาการไหล่ติด แพทย์จะสอบถามประวัติของคุณ และตรวจร่างกายบริเวณแขน และไหล่โดยจะขยับแขนด้วยวิธีต่างๆ เพื่อดูว่าเจ็บแค่ไหน และสังเกตความแตกต่าง

หรืออาจจะฉีดยาชาที่ไหล่ของคุณเพื่อทําให้บริเวณนั้นชา และ/หรือทำการตรวจร่างกายอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น X-rays, อัลตร้าซาวด์ หรือ MRI เพื่อแยกแยะปัญหาอื่นๆ เช่น โรคข้ออักเสบหรือ rotator cuff ที่ฉีกขาด

รักษาอาการไหล่ติดได้อย่างไร?

1.รักษาทั่วไปด้วยยา

ยาแก้ปวดที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาโพรเซน อาจช่วยลดอาการปวด และอาการอักเสบของข้อไหล่ติดได้ แต่ในบางกรณี อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดโดยแพทย์สั่ง หรือการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ข้อไหล่สำหรับอาการปวดที่รุนแรง

2.กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษาอาการไหล่ติดโดยจะช่วยฟื้นฟูความคล่องตัว ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณเจ็บปวด โดยนักกายภาพบำบัดจะให้ออกกำลังกาย และการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเพื่อปรับปรุงการเคลื่อนไหว เสริมสร้างกล้ามเนื้อไหล่ และบรรเทาอาการปวดตึง

3.รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS

หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว

4.การบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave)

เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นกระแทกพลังงานสูงเพื่อกระตุ้นการรักษา และลดความเจ็บปวดในสภาวะทางระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกต่างๆ รวมถึงอาการไหล่ติด (แบบยึดติด capsulitis)

5.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)

เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique) คือ การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างข้อต่อกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ และทำให้ผู้เข้ารับการรักษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เทคนิคบำบัดด้วยมือนั้น จัดเป็นหนึ่งในวิธีกายภาพบำบัดที่มีประโยชน์มาก และสามารถใช้รักษาร่วมกับเครื่องมือกายภาพบำบัดอื่น ๆ เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave) หรือ เครื่อง PMS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับอาการไหล่ติดอยู่หรือไม่  อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

  • ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
  • เวลาทำการ​ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
  • เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563

ขอบคุณข้อมูลจาก : Mayoclinic

2/02/67 เวลา 16:19 น.