
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทอาการเป็นอย่างไร รักษายังไงดี
อาการปวดหลังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือผู้ที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ บางคนอาจมีอาการปวดร้าวลงขา ชา หรือรู้สึกอ่อนแรง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท วันนี้ คลินิกกายภาพบำบัด เดอะคอมมอนส์คลินิก (The Commons Clinic) จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ พร้อมแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมเอง
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทคืออะไร
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตอย่างมาก
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทอาการเป็นอย่างไร
อาการของกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิดการกดทับ เช่น
- ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหว
- ปวดร้าวลงขา หรือแขน ตามแนวเส้นประสาท
- ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
- กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง
- เดินลำบาก หรือเดินผิดปกติ
- อาการปวดมักแย่ลงเมื่อไอ จาม หรือเบ่ง
- อาการรุนแรงขึ้นเมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ
สาเหตุที่ทำให้เป็นกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด
บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังแยกตัว หรือมีการเชื่อมต่อของกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้เมื่ออายุมากขึ้น
2. เกิดจากตัวเชื่อมกระดูกสันหลังและข้อต่อผิดปกติ
เมื่อเอ็นยึดกระดูกสันหลังหรือข้อต่อเกิดความผิดปกติ อาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวออกจากแนวปกติ และไปกดทับเส้นประสาท มักพบในผู้ที่มีท่าทางการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หรือยกของหนักผิดท่า
3. เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกจะเกิดการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ทำให้หมอนรองกระดูกแข็งตัว บางลง หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท
4. เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ
การได้รับบาดเจ็บที่หลังอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุรถชน ตกจากที่สูง หรือการเล่นกีฬาที่มีการปะทะ อาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนและกดทับเส้นประสาทได้ทันที
5. เกิดจากผลกระทบของการเป็นโรคบางชนิด
โรคบางอย่าง เช่น โรคกระดูกพรุน เนื้องอกกดทับเส้นประสาท หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังและกดทับเส้นประสาทได้
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทรักษาหายไหม
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการ การเลือกวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุ ตั้งแต่การรักษาแบบประคับประคอง การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรง
วิธีรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
แนวทางการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละคน โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ การรักษาแบบประคับประคอง การรักษาแบบอินเตอร์เวนชัน และการผ่าตัด โดยแต่ละวิธีจะมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้
การรักษาแบบประคับประคอง
การรักษาแบบประคับประคองเป็นการรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยมุ่งเน้นการบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน : เน้นการปรับเปลี่ยนท่าทางในการนั่ง ยืน และเดินให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ งดกิจกรรมที่ต้องก้มหรือเอี้ยวตัวมาก ๆ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การปรับพฤติกรรมจะช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลังและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง
- การรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs : เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบเส้นประสาทและบรรเทาอาการปวด ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารและไต
- การทำกายภาพบำบัด : ประกอบด้วยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยอย่างเครื่องช็อคเวฟและเครื่อง PMS เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด ร่วมกับการบำบัดด้วยมือเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และการสอนท่าออกกำลังกายเฉพาะที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
- การใช้อุปกรณ์พยุงหลัง (Lumbar Support) : เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง ลดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และช่วยกระจายน้ำหนักที่กดลงบนกระดูกสันหลัง เหมาะสำหรับใช้ในระยะแรกของการรักษาหรือช่วงที่ต้องทำกิจกรรมที่อาจกระทบกระเทือนหลัง
การรักษาแบบอินเตอร์เวนชัน (Spinal Interventional Pain Management)
เป็นการรักษาที่ใช้เทคนิคพิเศษเพื่อจัดการกับอาการปวดโดยตรง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง หรือการรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล ยกตัวอย่างเช่น
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง : เป็นการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเฉียบพลันหรือมีการอักเสบรุนแรง
- รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าคลื่นวิทยุความถี่สูง : เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อรบกวนการส่งสัญญาณประสาทความเจ็บปวด ช่วยลดอาการปวดได้ในระยะยาว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น
- ฉีดสลายพังผืด : เป็นการฉีดน้ำเกลือผสมยาพิเศษเข้าไปในบริเวณที่มีพังผืดรอบเส้นประสาท เพื่อสลายพังผืดที่เกาะรัดเส้นประสาท ช่วยให้เส้นประสาทเคลื่อนไหวได้อิสระมากขึ้น และลดอาการปวดที่เกิดจากการกดรัดของพังผืด
การผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีผ่าตัดที่เหมาะสมกับแต่ละราย เช่น การผ่าตัดเปิดโพรงกระดูกสันหลัง หรือการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง เป็นต้น
วิธีป้องกันกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
- รักษาท่าทางการนั่ง ยืน เดินให้ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ ในท่าเดิม
- ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ยกของให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการยกของหนักเกินไป
- หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
สรุปบทความ
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นภาวะที่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
สำหรับใครที่มีอาการปวดต่าง ๆ โดยเฉพาะอาการ ปวดสะบักหลังเรื้อรัง ปวดออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome), ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดคอ บ่า ไหล่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการแย่ลง สามารถนัดหมายเข้ามาตรวจสุขภาพร่างกาย และทำกายภาพบำบัด ที่ The Commons Clinic ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่องช็อคเวฟ Shock Wave หรือ เครื่องกายภาพบำบัดด้วยคลื่นไฟฟ้า PMS รวมถึงการฝังเข็ม มั่นใจเลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด