ปวดหลังทำไงดี? รู้จักอาการปวดหลังแต่ละส่วน ทั้งสาเหตุและวิธีรักษา

อาการปวดหลัง เป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก หรือวัยรุ่นที่เล่นกีฬาอย่างหนัก วัยทำงานที่ต้องใช้เวลาทั้งวันไปกับการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือวัยสูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่มีอวัยวะ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบริเวณหลัง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ได้รับบาดเจ็บ เสื่อม อักเสบ หรือเกิดภาวะเคล็ดขัดยอก จนทำให้เกิดอาการปวดตามมา

สำหรับใครที่มีอาการปวดที่บริเวณหลังบ่อย ๆ แล้วสงสัยว่า อาการปวดที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร หรือกำลังมองหาวิธีรักษาอยู่ ในบทความนี้ The Commons Clinic จะพาคุณไปรู้จักกับอาการปวดหลังแต่ละส่วน พร้อมวิธีรับมือเอง

สาเหตุของอาการปวดหลังแต่ละส่วน

สาเหตุของอาการปวดหลังแต่ละส่วน

อาการปวดหลังที่พบได้บ่อย ๆ จะแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนบน ส่วนกลาง ส่วนล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา ซึ่งแต่ละส่วนจะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. อาการปวดหลังส่วนบน

ปวดหลังส่วนบน เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยมาก เพราะมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ชอบทำกัน นอกจากนี้คนที่สะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไปบ่อย ๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน

2. อาการปวดหลังส่วนกลาง

อาการปวดบริเวณหลังส่วนกลาง อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

  • ก้มยกของหนักผิดท่า : อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลังและทำให้เกิดอาการปวดได้ แนะนำให้ในขณะที่ยกของหนัก ให้ย่อตัวลง แล้วค่อย ๆ ยกของขึ้น โดยที่แผ่นหลังอยู่ในลักษณะตรง ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้
  • นอนบนเตียงที่นุ่ม หรือแข็งจนเกินไป : ทำให้ไม่สามารถรองรองรับแผ่นหลังได้ดีเท่าที่ควร เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว แนะนำให้เลือกใช้ที่นอนและหมอนที่เข้ากับสรีระร่างกาย ถูกต้องตามหลัก การยศาสตร์ (Ergonomics) จะดีที่ที่สุด

3. อาการปวดหลังส่วนล่าง

ปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยทำงานและวัยสูงอายุเลย เพราะมีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนาน ๆ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนท่า ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่างเกิดการตึงเกร็งบ่อย ๆ จนทำให้เกิดอาการอักเสบ และอาการปวดตามมาได้ในที่สุด 

นอกจากนี้อาการปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างยังสามารถเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปด้วย ซึ่งส่งผลให้กระดูก สันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่างต้องพยุงน้ำหนักมากกว่าปกติ และเกิดอาการอ่อนล้าเรื้อรัง จนทำให้เกิดอาการปวดได้นั่นเอง

4. อาการปวดหลังด้านซ้าย

อาการปวดหลังด้านซ้าย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • อาการปวดจากการได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวด้านซ้ายจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยกของหนัก การเอี้ยวตัวมากเกินไป การได้รับอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา
  • อาการปวดจากการที่มีไข้ ไม่สบาย และไอเรื้อรัง
  • อาการปวดจากการขยับร่างกายผิดจังหวะ จนทำให้เกิดการอาการเคล็ดขัดยอก เป็นต้น
  • อาการปวดที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ 
  • เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  • การนั่งทำงาน หรือทำกิจกรรมที่ไม่ถูกสรีระหรือมีท่าทางที่ไม่เหมาะสม

5. อาการปวดหลังด้านขวา

อาการปวดหลังด้านขวาจะมีสาเหตุคล้าย ๆ กับอาการปวดที่บริเวณหลังด้านซ้าย แต่จะเกิดขึ้นกับกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ที่บริเวณลำตัวข้างขวาแทน

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับอาการปวดหลัง?

หากอาการปวดหลังเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง นอนพัก หรือไปนวดผ่อนคลายก็หายดี ก็คงไม่น่ากังวลเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการปวดที่บริเวณหลังเป็นประจำ หรือมีอาการปวดมาก นั่นอาจไม่ใช่อาการปวดธรรมดา แต่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างในร่างกายได้ก็ได้ เช่น

  • อาการปวดที่บริเวณหลังเรื้อรัง : มักมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะอาการปวดสามารถพัฒนาระดับความรุนแรงจนส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้
  • ปวดหลัง ปวดเอว ร่วมกับปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า : อาจเป็นสัญญาณของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่อย่างนั้นอาจจำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้
  • อาการปวดบริเวณหลังร่วมกับหายใจไม่ค่อยสะดวก : อาจมีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ หรือร้ายแรงถึงขั้นปอดอักเสบ หรือปอดติดเชื้อได้
  • อาการปวดหลังเหนือเอว : อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคไต การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี หรือติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะได้

ทําไมผู้หญิงถึงมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ ตอนเป็นประจําเดือน?

ทําไมผู้หญิงมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ ตอนเป็นประจําเดือน

ผู้หญิงหลายคนอาจมีอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง หรือปวดหลังล่างในช่วงที่มีประจำเดือนได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • ในขณะที่มีประจำเดือน มดลูกจะเกิดการบีบรัดจนไปกดทับเส้นเลือดบริเวณข้างเคียง ทำให้ไม่มีเลือดลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงตามกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว และทำให้เกิดอาการปวด
  • มีก้อนเนื้องอกย้อยไปทางด้านหลังของมดลูกจนทำให้ไปกดเบียดอวัยวะด้านหลัง

หากสาว ๆ มีอาการปวดหลังบ่อย ๆ ไปนวด หรือทำกายภาพบำบัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอีกครั้ง เพราะอาจเกิดจากโรคทางนรีเวชเหล่านี้ได้

ปวดหลังทำไงดี? แนะวิธีแก้ปวดหลังเบื้องต้นทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

วิธีแก้ปวดหลังให้อาการดีขึ้น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มต้นจากการหันกลับมาดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

  • ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ดีขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม โต๊ะกับเก้าอี้ที่ใช้ทำงานความมีระดับความสูงที่เหมาะสม ไม่ต้องก้ม หรือเงยหน้าทำงาน และเก้าอี้ควรรองรับสรีร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เช่น นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น ไม่นั่งไขว่ห้าง เวลายืน ให้ยืนขากว้างเท่ากับสะโพก  หรือเวลานอน ควรนอนหงายบนเตียงสบาย ๆ เพื่อให้กระดูกสันหลังเรียงตัวได้ดี ไม่คดโค้ง เป็นต้น
  • หลังจากทำงาน หรือออกกำลังกายแล้ว ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ เพื่อลดการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ และช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้ดีขึ้น
  • หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ สามารถประคบร้อน หรือแช่น้ำอุ่น เพื่อบรรเทาอาการได้
  • หากมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หรือบวม สามารถประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการได้

อาการปวดหลังแบบไหนที่อันตราย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามวิธีแก้ปวดหลังที่เราแนะนำไป แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดบริเวณหลังเรื้อรังนานกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้พบนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างเหมาะสมจะดีกว่า ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้

นอกจากนี้ หากคุณมีอาการปวดบริเวณหลังร่วมกับอาการเหล่านี้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เช่นกัน ได้แก่

  • ปวดหลังมากจนนอนไม่ได้
  • มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการอ่อนแรง แขนขาชา หรือไม่สามารถขยับร่างกายได้เหมือนปกติร่วมด้วย
  • มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
  • มีอาการจุกที่กลางอกร่วมด้วย
  • มีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจไม่ลึก หรือมีไข้ร่วมด้วย

อาการปวดหลัง มีวิธีรักษาอย่างไร?

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

แนวทางการรักษาอาการปวดหลังนั้น จะขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความรุนแรงของอาการปวดของแต่ละคน เช่น 

  • หากมีอาการปวดระดับปานกลาง แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด และช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
  • หากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์ผสมกับยาชาบริเวณที่มีการอักเสบ หรือเส้นประสาทมีการกดทับเกิดขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำกายภาพบำบัด
  • หากการใช้ยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรืออาการไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร แพทย์ก็จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้าย

The Commons Clinic พร้อมรักษาอาการปวดหลัง โดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญา

The Commons Clinic คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด ที่ดูแลโดยทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัด พร้อมช่วยให้อาการปวดหลังของคุณได้รับการรักษาอย่างตรงจุดและดีขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้ยา และไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการประเมินอาการและวางแผนการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเลือกใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS หรือ เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave ในการรักษา มั่นใจได้เลยว่า อาการจะดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

16/06/67 เวลา 12:35 น.