อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) ของคนวัยทำงาน ที่นั่งนานๆ ทำงานทั้งวันในออฟฟิศ หรือการทำงานที่บ้าน (WFH)  ก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยทำงาน เพราะการนั่งอยู่กับที่ ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน จดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือบางรายมีอาการปวดหลังแบบไฟฟ้าช็อตได้ 

ส่วนใหญ่กลุ่มอาการนี้จะเกิดมากที่สุดภายในวัยทํางานในกลุ่มอายุ 30-55 ปี เพราะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการทำงานในสำนักงานเป็นเวลานาน และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนโต๊ะทำงาน หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงในที่ทำงานโดยแทบจะไม่มีการขยับตัว และปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ เมื่อมองแวบแรก อาจจะไม่ได้คิดมากเกี่ยวกับวิถีชีวิตเช่นนี้ แต่ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) อาจนําไปสู่ปัญหาร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลัง

อะไรคือสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง ของคนวัยทำงาน

  • การนั่งนานๆ และท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกต้อง การนั่งนานๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทาง หรือขยับตัวระหว่างชั่วโมงการทำงานสามารถเป็นอาการปวดหลังส่วนล่างได้เพราะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ ด้วยอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ และปวดไหล่

  • สภาพแวดล้อมในการทํางาน ที่ไม่ดีเป็นสาเหตุสําคัญของ อาการปวดหลังส่วนล่าง เพราะความสูงของโต๊ะ ตําแหน่งของคอมพิวเตอร์ และคีย์บอร์ด ทำให้ไม่สะดวกเพียงพอต่อการนั่งท่าปกติได้ ทำให้ต้องนั่งท่าที่ผิดปกติ เช่นการก้มตัว งอตัว ทําให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื้อง ส่งผลให้กล้ามเนื้อแกนกลางอ่อนแอลง และมีผลกระทบต่อการตึงเครียดของกล้ามเนื้ออื่นๆด้วย ทำให้มีอาการเจ็บปวด และอักเสบของกล้ามเนื้อ

อาการแบบไหนที่เข้าข่ายภาวะอาการปวดหลังส่วนล่าง

1.เจ็บ ปวด มีอาการเจ็บแสบ หรือเสียวซ่าในพื้นที่หลัง และอาจมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่ทำให้เจ็บมากขึ้น

2.รู้สึกตึง มีความรู้สึกตึงของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวลำบากในบางครั้ง

อาการปวดหลังส่วนล่างอยู่ได้นานแค่ไหน?

อาการปวดหลังสามารถอยู่ได้ 1 วัน – 3 สัปดาห์ หรือเป็นเดือนๆ หรือตลอดชีวิตก็เป็นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และการรักษา

วิธีจัดการกับอาการปวดหลังส่วนล่างของคนวัยทำงาน

การจัดการกับอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ ในสถานที่ทำงาน หรือสำนักงานที่ต้องนั่งนานๆ โดยไม่เปลี่ยท่านั้ง และนี้คือวิธีการจัดการ อาการปวดหลังส่วนล่าง เบื้องต้น

1.ปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง

นั่งตัวตรงโดยให้ไหล่ผ่อนคลาย และรองรับหลังส่วนล่าง ปรับเก้าอี้ โต๊ะ และจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าถูกหลักสรีระอย่างเหมาะสมนอกจากนี้ต้องนั่งให้เท้าราบกับพื้น และหลีกเลี่ยงการไขว้ข้อเท้า หรือขา

2.ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้พอดี

หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ให้ต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย และหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเพียงแขนเดียว

3.ปรับเปลี่ยนคีย์บอร์ด และเมาส์

ใช้คีย์บอร์ด และเมาส์ที่ถูกต้อง เพื่อลดความตึง เกร็งในข้อมือ มือ และข้อศอกควรวางอยู่บนโต๊ะได้อย่างสบายพอดี

4. เปลี่ยนท่านั่ง

การปรับเปลี่ยนท่านั่งอย่างสม่ำเสมอพื่อรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด หากนั่งในท่าเดียวกันนานเกินไป อาจเริ่มรู้สึกไม่สบายตัว ลองเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 1-2 ชั่วโมง  ซึ่งจะช่วยป้องกันการงอของกล้ามเนื้อ และอาการเมื่อย นอกจากนี้ไม่ควรนั่งบนขอบที่นั่ง และเปลี่ยนมุมที่นั่งเป็นระยะๆ ด้วย

5. พักสายตาจากหน้าจอ

ทุกๆ 1 ชั่วโมง เช่นกระพริบตาอย่างรวดเร็ว หรือหลับตา เพียง 5 นาที ก็จะช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา และความแห้งของดวงตาได้ หรือถ้าเป็นไปได้ให้ละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และรับแสงสว่างจากธรรมชาติ นอกจากนี้ควรจัดแสงสว่างในพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม เพื่อลดอาการตาอ้อนล้า และแห้ง

6.การออกกำลังกาย

ขอแนะนําให้ออกกําลังกาย 30 นาทีขึ้นไป 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจจะมุ่งเน้นไปที่การออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางของกระดูก

7.การใช้ช่วงเวลาหยุดพัก

ใช้ช่วงเวลาพักให้มีประสิทธิภาพโดยการออกไปยืดเส้นยืดสาย หรือทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

8.ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยชีวิต

เช่น หมอนรองเอวเพื่อช่วยบรรเทาแรงกดที่ส่วนล่าง การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการรับน้ำหนัก หรือในการปรับท่าทางการนั่ง จะเป็นตัวช่วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้อย่างดี

วิธีเบื้องต้นสำหรับลดอาการปวดหลังส่วนล่าง

  • Heating pad การติดแผ่นทำความร้อนนั้นจะช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือด และออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น
  • อาบน้ำอุ่น จะช่วยเพิ่มการไหลเวียน และลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อได้
  • ออกกำลังกาย สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต และผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งได้
  • ประคบน้ำแข็ง หากมีอาการปวดหลังช่วงล่าง อาจใช้การประคบน้ำแข็งเข้าช่วย เพราะจะช่วยลดการอักเสบ ความเจ็บปวด และรอยฟกช้ำได้ การประคบน้ำแข็งจะทำงานได้ดีที่สุดภายใน 48 ชั่วโมงแรกของอาการกล้ามเนื้อที่ตึง หรือได้รับบาดเจ็บ

อาการปวดหลังส่วนล่างได้รับการประเมิน และวินิจฉัยอย่างไร?

แพทย์จะสักถามอาการ ข้อมูลต่างเกี่ยวกับอาการ เช่น ประวัติสุขภาพ และวิถีชีวิต จากนั้นจึงทําการตรวจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย 

  • X-rays.
  • MRI
  • CT scans
  • Bone scan
  • EMGs

แนวทางการรักษาสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างสำหรับคนวัยทำงาน

  • กายภาพบําบัด
  • การฉีดยา
  • การผ่าตัด
  • รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS
  • เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)
  • การทำกายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก หรือ เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave)
  • การรักษาด้วยไคโรแพรคติก (Chiropractic)
  • กายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล

หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับอาการปวดหลังส่วนล่างอยู่  อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ thecommonsclinic.com ได้เลย

The Commons Clinic เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :

ขอบคุณข้อมูลจาก : My Cleveland Clinic, Health cleveland Clinic

28/11/66 เวลา 02:38 น.