“ฝังเข็ม” ปรับสมดุลร่างกาย ช่วยแก้อาการปวดอย่างเห็นผล
นอกจากการนวดแผนไทยแล้ว อีกหนึ่งศาสตร์ที่คนนิยมทำกันเมื่อมีอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายก็คือการฝังเข็ม ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่ามีเพียงการฝังเข็มแบบจีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีการฝังเข็มแบบตะวันตกด้วย ซึ่งมีประโยชน์ไม่แพ้กัน
สำหรับใครที่สนใจฝังเข็ม แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะช่วยแก้อาการปวดได้จริงไหม เดอะคอมมอนส์คลินิก (The Commons Clinic) จะพาคุณไปรู้จักกับการฝังเข็มอย่างละเอียดเอง จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!
ฝังเข็มคืออะไร?
การฝังเข็มเป็นแพทย์แผนทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยจะฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ กลับมาทำงานเป็นปกติ จึงส่งผลให้โรค หรืออาการเจ็บปวดต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้
การฝังเข็มมีกี่ประเภท?
การฝังเข็มจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การฝังเข็มแบบจีนและการฝังเข็มแบบตะวันตก มีรายละเอียดแตกต่างดังนี้
1. การฝังเข็มแบบจีน (Acupuncture)
การฝังเข็มแบบจีนเป็นศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีนที่มีประวัติมายาวนานกว่า 4,000 ปี โดยวิธีการรักษา แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กมากฝังไปตามจุดฝังเข็ม (输穴) ของร่างกาย ซึ่งเป็นตำแหน่งบนร่างกายที่เลือดและ ชี่ (气) หรือลมปราณ จากอวัยวะภายในไหลเวียนมาเพิ่มเติมและกระจายออก
การฝังเข็มแบบจีนจะเข้าไปกระตุ้นจุดฝังเข็มให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ท่ีเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ ซึ่งจุดฝังเข็มจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- จุดฝังเข็มในระบบ (经穴) : เป็นจุดในเส้นลมปราณในร่างกายของเรา มีทั้งหมด 670 จุด
- จุดฝังเข็มนอกระบบ (奇穴) : หรือที่นิยมเรียกว่า “จุดพิเศษ” เป็นจุดนอกเส้นลมปราณที่มีชื่อและตำแหน่งบนร่างกายแน่นอน แต่ไม่ได้รับการจัดให้เป็นจุดในระบบ เป็นจุดที่แพทย์แผนจีนจะใช้ฝังเข็มในการรักษาโรคโดยเฉพาะ
- จุดกดเจ็บ (阿是穴) : เป็นจุดที่ไม่มีชื่อและไม่มีตำแหน่งบนร่างกายที่แน่นอน เป็นจุดที่แพทย์แผนจีนจะหาและใช้การฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดต่าง ๆ
2. การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling)
การฝังเข็มแบบตะวันตก จะเป็นการฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ โดยจะฝังเข็มลงไปในจุดที่ปวดเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ และจะมีข้อแตกต่างจากการฝังเข็มแบบจีนตรงที่จะไม่เน้นการฝังเข็มค้างไว้ ส่วนใหญ่จะฝังเข็มเพื่อคลายจุดที่ตึง หรือปวด แล้วดึงออกเลยเท่านั้น
ประโยชน์ของการฝังเข็ม
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับโรค หรืออาการที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มไว้ 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
1. รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลเป็นอย่างดี
ตัวอย่างโรค อาการ หรือสภาวะที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลเป็นอย่างดี เช่น
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
- โรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
- อาการปวดถุงน้ำดี
- ภาวะซึมเศร้า
- ปวดท้องคลอดบุตร
- ปวดเข่า ปวดหลังส่วนล่าง ปวดคอ ปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดข้อรูมาตอยด์
- การอักเสบรอบหัวไหล่
- อาการปวดหลังผ่าตัด ปวดนิ่ว ปวดประสาทไซแอติก
- โรคหลอดเลือดในสมอง
2. รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลเป็นอย่างดี แต่ยังต้องพิสูจน์ต่อไป
ตัวอย่างโรค อาการ หรือสภาวะที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลเป็นอย่างดี แต่ยังต้องพิสูจน์ต่อไป เช่น
- ปวดท้อง ปวดหู ปวดกระดูกสันหลังเฉียบพลัน อาการปวดจากโรคมะเร็ง
- สิว
- หอบหืด
- โรคหัวใจ
- โรคเครียด
- นิ่วในถุงน้ำดี
- ไอกรน
- คอเคล็ด
- เข่าเสื่อม
3. รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลดีในบางบุคคล
ตัวอย่างโรค อาการ หรือสภาวะที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วให้ผลดีในบางบุคคล เช่น
- ตาบอดสี
- หูหนวก
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการบาดเจ็บจากกระดูกสันหลัง
- การอุดตันของทางเดินหายใจขนาดเล็ก
- เกลื้อน
- โรคลำไส้แปรปรวน
4. รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วอาจให้ผลดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนปัจจุบัน
ตัวอย่างโรค อาการ หรือสภาวะที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วอาจให้ผลดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น
- อาการโคม่า
- อาการชักในทารก
- อาการท้องเสียในทารก หรือเด็กเล็ก
- โรคไข้สมองอักเสบในเด็ก
ผู้ที่ไม่สามารถฝังเข็มได้ มีใครบ้าง?
ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการฝังเข็มได้ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย มีดังนี้
- ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา
- ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบแข็งตัวของเลือด
- ผู้ที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker) อยู่
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฝังเข็ม
การฝังเข็มไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด ใช้ระยะเวลาการรักษาไม่นาน จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ แค่เพียงรับประทานอาหารก่อนเข้ารับการฝังเข็มประมาณ 1-2 ชั่วโมง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และสวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ ไม่รัดแน่นเกินไป ก็สามารถเข้ารับการฝังเข็มได้แล้ว
การดูแลตัวเองหลังฝังเข็ม
ในกรณีที่เป็นการฝังเข็มแบบจีน หลังจากฝังเข็มเสร็จแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 20-30 นาที หรือตามที่แพทย์กำหนด ไม่ควรที่จะขยับเขยื้อนแขนขา หรือบริเวณที่ฝังเข็มจนครบเวลา และหลังจากที่แพทย์เอาเข็มออกแล้ว ก็ควรที่จะยืดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม และออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรักษาได้
ข้อควรระวังในการฝังเข็ม
เพื่อความปลอดภัยในการฝังเข็มจะต้องทำกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มโดยเฉพาะ สถานพยาบาลมีความน่าเชื่อถือ เข็มที่ใช้ฝังจะต้องเป็นเหล็กสเตนเลส ไม่เป็นสนิม ปลายเข็มไม่ตัด ไม่กลวง ไม่มีรู ได้รับการทำความสะอาดจนปลอดเชื้อ และบรรจุแผงจากโรงงานอย่างเรียบร้อย ที่สำคัญจะต้องใช้ครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสตับอักเสบและเชื้อไวรัสเอสไอวี (HIV)
ข้อดีของการฝังเข็มที่ The Commons Clinic
- ดูแลโดยนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ
- ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทำให้หายเจ็บ หายปวด หายเมื่อย และหายตึง
- นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่ายืดยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลตนเองต่อได้
- นอกจากฝังเข็มแล้ว The Commons Clinic ยังมีเครื่องมือกายภาพทันสมัยครบครัน ทั้งเครื่อง Shock Wave เครื่อง PMS และการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า เพื่อการรักษาที่ครอบคลุมทุกอาการปวด
สนใจฝังเข็มที่ The Commons Clinic ทำอย่างไรดี?
สำหรับใครที่สนใจฝังเข็มแก้อาการปวดหลัง ปวดเข่า ปวดไหล่ หรือปวดบริเวณอื่น ๆ สามารถนัดหมายเข้ามาตรวจสุขภาพร่างกายและวางแผนการฝังเข็มและทำกายภาพบำบัดอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับคุณที่ The Commons Clinic ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง ไม่ว่าคุณจะมีอาการปวดแบบไหน เดอะคอมมอนส์คลินิกก็ช่วยคุณได้!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้าใช้บริการ The Commons Clinic ได้ที่ :
- ที่ตั้ง : 388 ถนนเทพรักษ์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 (https://goo.gl/maps/sbT1J8wUKgy4mQPF8)
- เวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 19.00 น.
- เบอร์โทรศัพท์ : 094-694-9563
- Line OA : @thecommonsclinic
- Facebook : The Commons Clinic – คลินิกเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด
ขอบคุณข้อมูลจาก : WHO